วันอาทิตย์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2555

ศิลปะไทย ความหมายความเป็นมา และทัศนธาตุในศิลปะ

ศิลปะไทย

ความหมายความเป็นมา
ศิลปะไทย เป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย ซึ่งคนไทยทั้งชาติต่างภาคภูมิใจอย่างยิ่ง ความงดงามที่สืบทอดอันยาวนานมาตั้งแต่อดีต บ่งบอกถึงวัฒนธรรมที่เกิดขึ้น โดยมีพัฒนาการบนพื้นฐานของความเป็นไทย ลักษณะนิสัยที่อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม ที่มีมานานของสังคมไทย ทำให้ศิลปะไทยมีความประณีตอ่อนหวาน เป็นความงามอย่างวิจิตรอลังการที่ทุกคนได้เห็นต้องตื่นตา ตื่นใจ อย่างบอกไม่ถูก ลักษณะความงามนี้จึงได้กลายเป็นความรู้สึกทางสุนทรียภาพโดยเฉพาะคนไทย
เมื่อเราได้สืบค้นความเป็นมาของสังคมไทย พบว่าวิถีชีวิตอยู่กันอย่างเรียบง่าย มีประเพณีและศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรมมาก่อน ดังนั้น ความผูกพันของจิตใจจึงอยู่ที่ธรรมชาติแม่น้ำและพื้นดิน สิ่งหล่อหลอมเหล่านี้จึงเกิดบูรณาการเป็นความคิด ความเชื่อและประเพณีในท้องถิ่น แล้วถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมไทยอย่างงดงาม ที่สำคัญวัฒนธรรมช่วยส่งต่อคุณค่าความหมายของสิ่งอันเป็นที่ยอมรับในสังคม หนึ่ง ๆ ให้คนในสังคมนั้นได้รับรู้แล้วขยายไปในขอบเขตที่กว้างขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่การสื่อสารทางวัฒนธรรมนั้นกระทำโดยผ่านสัญลักษณ์ และสัญลักษณ์นี้คือผลงานของมนุษย์นั้นเองที่เรียกว่า ศิลปะไทย
ปัจจุบันคำว่า "ศิลปะไทย" กำลังจะถูกลืมเมื่ออิทธิพลทางเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่สังคมเก่าของไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกแห่งการสื่อสารได้ก้าวไปล้ำยุคมาก จนเกิดความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับสมัยอดีต โลกใหม่ยุคปัจจุบันทำให้คนไทยมีความคิดห่างไกลตัวเองมากขึ้น และอิทธิพลดังกล่าวนี้ทำให้คนไทยลืมตัวเราเองมากขึ้นจนกลายเป็นสิ่งสับสน อยู่กับสังคมใหม่อย่างไม่รู้ตัว มีความวุ่นวายด้วยอำนาจแห่งวัฒนธรรมสื่อสารที่รีบเร่งรวดเร็วจนลืมความเป็น เอกลักษณ์ของชาติ
เมื่อเราหันกลับมามองตัวเราเองใหม่ ทำให้ดูห่างไกลเกินกว่าจะกลับมาเรียนรู้ว่า พื้นฐานของชาติบ้านเมืองเดิมเรานั้น มีความเป็นมาหรือมีวัฒนธรรมอย่างไร ความรู้สึกเช่นนี้ ทำให้เราลืมมองอดีตตัวเอง การมีวิถีชีวิตกับสังคมปัจจุบันจำเป็นต้องดิ้นรนต่อสู้กับปัญหาต่าง ๆ ที่วิ่งไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ถ้าเรามีปัจจุบันโดยไม่มีอดีต เราก็จะมีอนาคตที่คลอนแคลนไม่มั่นคง การดำเนินการนำเสนอแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะในครั้งนี้ จึงเป็นเสมือนการค้นหาอดีต โดยเราชาวศิลปะต้องการให้อนุชนได้มองเห็นถึง ความสำคัญของบรรพบุรุษ ผู้สร้างสรรค์ศิลปะไทย ให้เราทำหน้าที่สืบสานต่อไปในอนาคต
ความเป็นมาของศิลปะไทย
ไทยเป็นชาติที่มีศิลปะและวัฒนธรรม ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีของตนเองมาช้านานแล้ว เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ศิลปะไทยจะวิวัฒนาการและสืบเนื่องเป็นตัวของตัวเองในที่สุด เท่าที่เราทราบราว พ.ศ. 300 จนถึง พ.ศ. 1800 พระพุทธศาสนานำเข้ามาโดยชาวอินเดีย ครั้งนั้นแสดงให้เห็นอิทธิพลต่อรูปแบบของศิลปะไทยในทุก ๆ ด้านรวมทั้งภาษา วรรณกรรม ศิลปกรรม โดยกระจายเป็นกลุ่มศิลปะสมัยต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่สมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี เมื่อกลุ่มคนไทยตั้งตัวเป็นปึกแผ่นแล้ว ศิลปะดังกล่าวจะตกทอดกลายเป็นศิลปะไทย ช่างไทยพยายามสร้างสรรค์ให้มีลักษณะพิเศษกว่า งานศิลปะของชาติอื่น ๆ คือ จะมีลวดลายไทยเป็นเครื่องตกแต่ง ซึ่งทำให้ลักษณะของศิลปะไทยมีรูปแบบเฉพาะมีความอ่อนหวาน ละมุนละไม และได้สอดแทรกวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและความรู้สึกของคนไทยไว้ในงานอย่างลงตัว ดังจะเห็นได้จากภาพฝาผนังตามวัดวาอารามต่าง ๆ ปราสาทราชวัง ตลอดจนเครื่องประดับและเครื่องใช้ทั่วไป
ลักษณะของศิลปะไทย


ศิลปะไทยได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ความงามอย่างนิ่มนวลมีความละเอียดปราณีต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงลักษณะนิสัยและจิตใจของคนไทยที่ได้สอดแทรกไว้ในผลงานที่ สร้างสรรค์ขึ้น โดยเฉพาะศิลปกรรมที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติของไทย อาจกล่าวได้ว่าศิลปะไทยสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมพุทธศาสนา เป็นการเชื่อมโยงและโน้มน้าวจิตใจของประชาชนให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาใน พุทธศาสนา
ภาพไทย หรือ จิตรกรรมไทย จัดเป็นภาพเล่าเรื่องที่เขียนขึ้นด้วยความคิดจินตนาการของคนไทย มีลักษณะตามอุดมคติของกระบวนงานช่างไทย คือ
1. เขียนสีแบน ไม่คำนึงถึงแสงและเงา นิยมตัดเส้นให้เห็นชัดเจน และเส้นที่ใช้ จะแสดงความรู้สึกเคลื่อนไหวนุ่มนวล
2. เขียนตัวพระ-นาง เป็นแบบละคร มีลีลา ท่าทางเหมือนกัน ผิดแผกแตกต่าง กันด้วยสีร่างกายและเครื่องประดับ
3. เขียนแบบตานกมอง หรือเป็นภาพต่ำกว่าสายตา โดยมุมมองจากที่สูงลงสู่ ล่าง จะเห็นเป็นรูปเรื่องราวได้ตลอดภาพ
4. เขียนติดต่อกันเป็นตอน ๆ สามารถดูจากซ้ายไปขวาหรือล่างและบนได้ทั่ว ภาพ โดยขั้นตอนภาพด้วยโขดหิน ต้นไม้ กำแพงเมือง และเส้นสินเทาหรือ คชกริด เป็นต้น
5. เขียนประดับตกแต่งด้วยลวดลายไทย มีสีทองสร้างภาพให้เด่นเกิดบรรยากาศ สุขสว่างและมีคุณค่ามากขึ้น
ภาพลายไทย เป็นลายที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยมีธรรมชาติมาเป็นแรงดลบันดาลใจ โดยดัดแปลงธรรมชาติให้เป็นลวดลายใหม่อย่างสวยงาม เช่น ตาอ้อย ก้ามปู เปลวไฟ รวงข้าว และดอกบัว ฯลฯ ลายไทยเดิมทีเดียวเรียกกันว่า "กระหนก" หมายถึงลวดลาย เช่น กระหนกลาย กระหนกก้านขด ต่อมามีคำใช้ว่า "กนก" หมายถึง ทอง กนกปิดทอง กนกตู้ลายทอง แต่จะมีใช้เมื่อใดยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด ซึ่งคำเดิม "กระหนก" นี้เข้าใจเป็นคำแต่สมัยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี โดยเรียกติดต่อกันจนเป็นคำเฉพาะ หมายถึงลวดลายก้านขด ลายก้านปู ลายก้างปลา ลายกระหนกเปลว เป็นต้น การเขียนลายไทย ได้จัดแบ่งตามลักษณะที่จัดเป็นแม่บทใช้ในการเขียนภาพมี 4 ลาย ด้วยกัน คือลายกระหนก ลายนารี ลายกระบี่และลายคชะ เป็นต้น
ความมุ่งหมายของภาพไทย
1. เป็นภาพเล่าเรื่องให้ผู้ดูและผู้ชมเข้าใจ และเกิดสุนทรียภาพเมื่อรับรู้ความงาม ทางศิลปกรรม
2. เป็นการประดับตกแต่ง อาคาร โบสถ์ วิหารและ ปราสาทราชวัง เพื่อให้ เกิดบรรยากาศแห่งความงาม 
สืบสานความเป็นมาของศิลปินไทย
ช่างไทยสมัยโบราณมักจะเขียนภาพ โดยไม่บอกนามให้ปรากฏ การสืบค้น ศิลปินไทยที่เป็นครูช่างจึงยาก ลำบาก เท่าที่บอกเล่าจากปากต่อปากพอ จะจำกล่าวขานได้บ้างก็คือ ครู คงแป๊ะกับครูทองอยู่ที่เขียนภาพ ไทยอย่างวิจิตรภายในพระอุโบสถ์วัด สุวรรณาราม บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ก่อน หน้าครูทั้งสองคิดว่าช่างไทย เขียนด้วย ความศรัทธาทางศาสนา อุทิศเวลาความสามารถ เพื่อผลกรรมดีของตนที่สร้าง ไว้เพื่อบุญในภพหน้า ถึงแม้จะเขียน ในที่เล็ก ๆ แคบ ๆ มืด ๆ โดยใช้คบไฟส่องเขียน ก็ยังอดทนพยายามอุทิศเวลาเขียน ได้จนสำเร็จ เช่น ภายในกรุ พระปรางค์ พระเจดีย์ ในโบสถ์และวิหารขนาดเล็ก เป็นต้น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุ วัติวงศ์ ขณะพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ชอบ เดินดูภาพเขียนเรื่องรามเกียรติ์ที่ผนังระเบียง คดวัดพระแก้ว เมื่อกลับถึงพระตำหนัก ก็ทรงใช้ดินสอขาวเขียนภาพที่ ทรงจำได้เหล่านั้น มาเขียนไว้บน บานตู้ไม้ และครั้งหนึ่งพระองค์ยังทรง พระเยาว์เช่นกัน ได้ตามเสด็จประพาสต้น ของพระปิยะมหาราชไปยังหัวเมือง ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด และเมื่อเสด็จไปถึงจังหวัด กาญจนบุรี ครั้งนั้นคงเป็นป่าที่สมบูรณ์ มี พันธุ์ไม้ มีสัตว์ป่าชุกชุม มีธรรมชาติสวย งาม ณ น้ำตกบริเวณพลับพลาที่พัก ใกล้น้ำตกไทรโยคนั้นเป็นที่รับแรง บันดาลใจจากธรรมชาติที่ร่มรื่น น้ำ ตกที่ไหลลงกระแทกกับโขดผาด้าน ล่าง เสียงร้องของสัตว์นานาชนิด ๆ ไม่ว่าจะ เป็นนกยูงหรือสัตว์อื่น ๆ ผสมผสานกับแรง ของน้ำตกและธรรมชาติงาม ทำให้ พระองค์ท่าน แต่งเพลงเขมรไทรโยคขึ้น สำเร็จ เป็นเพลงไทยที่มีเนื้อร้อง ทำนอง จังหวะลีลา ขับร้องฟังแล้วกินใจประทับใจ มิรู้ ลืมจนกลายเป็นเพลงไทยอมตะมาจน ถึงปัจจุบัน ต่อมาเมื่อพระองค์เจริญพระชันษา พระองค์ก็ยังทรงใฝ่หาความรู้ ลักษณะเช่นนี้ตลอดมาจนมีฝีมือ สูงส่งระดับอัจฉริยะ พระองค์ได้คิดออก แบบพระอุโบสถวัดเบญจม-บพิธ โดยนำเอาศิลปะ ไทยเข้าประยุกต์กับปัจจุบันโดยมีหิน อ่อน กระจกสีและกระเบื้องเคลือบผสมผสานอย่าง งามลงตัวจนโครงสร้างพระอุโบสถ หลังนี้เป็นที่แปลกตาแปลกใจสวย งามอย่างมหัศจรรย์ ปัจจุบันเป็นที่ยกย่องว่า เป็นสมเด็จครูแห่งการช่างไทย บรรดาช่างไทยต่อมาได้คิดเพียร พยายามสร้างตำราเกี่ยวกับลายไทยฉบับ สำคัญ ๆ ที่ยึดถือในปัจจุบันขอกล่าวไว้สั้น ๆ ดังต่อไปนี้
1. พระเทวาภินิมมิต เขียน "สมุดตำราลาย ไทย"
2. ช่วง เสลานนท์ เขียน "ศิลปไทย"
3. พระพรหมพิจิตร เขียน "พุทธศิลปสถาปัตยกรรมภาคต้น"
4. โพธิ์ ใจอ่อนน้อม เขียน "คู่มือลายไทย"
5. คณะช่างจำกัด เขียน "ตำราภาพลายไทย"
6. เลิศ พ่วงพระเดช เขียน "ตำราสถาปัตยกรรมและลาย ไทย" 
จิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย (Thai Painting) หมายถึง ภาพเขียนที่มีลักษณะเป็นแบบอย่างของไทย ที่แตกต่าง จากศิลปะของชนชาติอื่นอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีอิทธิพลศิลปะของชาติอื่นอยู่บ้าง แต่ก็สามารถ ดัดแปลง คลี่คลาย ตัดทอน หรือเพิ่มเติมจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ตนเองได้อย่างสวยงาม ลงตัว น่าภาคภูมิใจและมีวิวัฒนาการทางด้านด้านรูปแบบ และวิธีการมาตลอดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปอีกในอนาคต
ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร สิ่งของ เครื่องใช้ ต่าง ๆ เครื่องประดับ ฯลฯ เป็นลวดลายที่มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันซึ่งนำเอารูปร่างจาก ธรรมชาติมาประกอบ เช่น ลายกระหนก ลายกระจัง ลายประจำยาม ลายเครือเถา เป็นต้น หรือเป็นรูปที่มาจากความเชื่อและคตินิยม เช่น รูปคน รูปเทวดา รูปสัตว์ รูปยักษ์ เป็นต้น
จิตรกรรมไทย เป็นวิจิตรศิลป์อย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมอันดี งามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า เรื่องที่เกี่ยวกับ ศาสนา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการแต่งกาย ตลอดจนการแสดงการเล่มพื้นเมืองต่าง ๆ ของแต่ละยุคสมัยและสาระอื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นภาพจิตรกรรมไทย งานจิตรกรรมให้ความรู้สึกในความงามอันบริสุทธิ์น่าชื่นชม เสริมสร้างสุนทรียภาพขึ้นในจิตใจมวลมนุษยชาติได้โดยทั่วไป วิวัฒนาการของงาน จิตรกรรมไทยแบ่งออกตามลักษณะรูปแบบทางศิลปกรรม ที่ปรากฏในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.จิตรกรรมไทยแบบประเพณี
จิตรกรรมฝาผนังจิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional Painting)เป็นศิลปะที่มีความประณีตสวยงาม แสดงความรู้สึกชีวิติจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความอ่อนโยน ละมุนละไม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีตจนได้ลักษณะประจำชาติ มีลักษณะประจำชาติที่มีลักษณะ และรูปแบบเป็นพิเศษ นิยมเขียนบนฝาผนังภายในอาคารที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาและอาคารที่เกี่ยวกับ บุคคลชั้นสูง เช่น โบสถ์ วิหาร พระที่นั่ง วัง บนผืนผ้า บนกระดาษ และบนสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ โดยเขียนด้วยสีฝุ่น ตามกรรมวิธีของช่างเขียนไทยแต่โบราณ เนื้อหาที่เขียนมักเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตพุทธ พุทธประวัติ ทศชาติชาดก ไตรภูมิ วรรณคดีและชีวิตไทย พงศาวดารต่าง ๆ ส่วนใหญ่นิยมเขียนประดับฝนังพระอุโบสถ วิหารอันเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประกอบพิธีทางศาสนา ลักษณะจิตรกรรมไทยแบบประเพณีเป็นศิลปะ แบบอุดมคติ (Idealistic)ผนวกเข้ากับเรื่องราวที่กึ่งลึกลับมหัศจรรย์ ซึ่งคล้ายกับงาน จิตรกรรมในประเทศแถบตะวันออกหลาย ๆ ประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา จีนและญี่ปุ่น เป็นต้น เป็นภาพที่ระบายสีแบนเรียบ ด้วยสีค่อนข้างสดใส และมีการตัดเส้นเป็นภาพ 2 มิติ ให้ความรู้สึกเพียงด้านกว้างและยาว ไม่มีความลึก ไม่มีการใช้แสงและเงามาประกอบ จิตรกรรมไทยแบบประเพณีมีลักษณะพิเศษในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ ตามผนังช่องหน้าต่าง โดยรอบโบสถ์ วิหาร และผนังด้าน หน้าและหลังพระประธาน ภาพจิตรกรรมไทยมีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งเอกรงค์ และหหุรงค์ โดยเฉพาะการใช้สีหลายๆ สีแบบพหุรงค์นิยมมากในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะได้สีจากต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขายด้วย ทำให้ภาพจิตรกรรมไทยมีความสวยงามและสีสันที่หลากหลายมากขึ้น
รูปแบบลักษณะตัวภาพในจิตรกรรมไทยซึ่งจิตรกรไทยได้สร้างสรรค์ออกแบบไว้เป็น รูปแบบอุดมคติที่แสดงออกทางความคิดให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่องและความสำคัญ ของภาพ เช่น รูปเทวดา นางฟ้า กษัตริย์ นางพญา นางรำ จะมีลักษณะเด่นงามสง่าด้วยลีลาอันชดช้อย แสดงอารมณ์ความรู้สึกปีติยินดี หรือเศร้าโศกเสียใจด้วยอากัปกิริยาท่าทาง ถ้าเป็นรูปยักษ์ มาร ก็แสดงออกด้วยท่างทางที่บึกบึน แข็งขัน ส่วนพวกวานรแสดงความลิงโลด คล่องแคล่วว่องไวด้วยลีลาท่วงท่าและหน้าตา สำหรับพวกชาวบ้านธรรมดาสามัญก็จะเน้นความตลกขบขัน สนุกสนานร่าเริงหรือเศร้าเสียใจออกทางใบหน้า ส่วนช้างม้าเหล่าสัตว์ทั้งหลายก็มีรูปแบบแสดงชีวิตเป็นธรรมชาติ ซึ่งจิตรกรไทยได้พยายามศึกษา ถ่ายทอดอารมณ์ สอดแทรกความรู้สึกในรูปแบบได้อย่างลึกซึ้ง เหมาะสม สวยงาม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชนชาติไทยที่น่าภาคภูมิใจ สมควรจะได้อนุรักษ์ สืบทอดให้เป็นมรดกของชาติสืบไป
2.จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย
จิตรกรรมไทยแบบร่วมสมัย (Thai Contempolary Painting)จิตรกรรมไทยร่วมสมัยเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการของ โลก ความเจริญทางการศึกษา การคมนาคม การพาณิชย์ การปกครอง การรับรู้ข่าวสาร ความเป็นไปของโลกที่อยู่ห่างไกล ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและแนวทางการแสดงออกของศิลปินในยุคต่อๆ มาซึ่งได้พัฒนาไปตามสภาพเวดล้อม ความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิด และความนิยมในสังคม สะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ใหม่ของวัฒนธรรมไทยอีกรูปแบบหนึ่ง อย่างมีคุณค่า เช่นดียวกัน อนึ่ง สำหรับลักษณะเกี่ยวกับจิตรกรรมไทยร่วมสมัยนั้น ส่วนใหญ่เป็นแนวทางเดียวกันกับลักษณะศิลปะแบบตะวันตกในลัทธิต่างๆ ตามความนิยมของศิลปินแต่ะละคน
ความสำคัญของจิตรกรรมไทย
จิตรกรรมไทย เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลแบบสหวิทยาการ ถือได้ว่าเป็นแหล่งขุมความรู้โดยเฉพาะเรื่องราวจากอดีตทีสำคัญยิ่ง แสดงให้เห็นถึงความเป็นชนชาติที่มีอารยธรรมอันเก่าแก่ ยาวนาน ประโยชน์ของงานจิตรกรรมไทย นอกจากจะให้ความสำคัญในเรื่องคุณค่าของงานศิลปะแล้ว ยังมีคุณค่าในด้านอื่น ๆ อีกมาก ดังนี้
1.คุณค่าในทางประวัติศาสตร์
2.คุณค่าในทางศิลปะ
3.คุณค่าในเรื่องการแสดงเชื้อชาติ
4.คุณค่าในทางสถาปัตยกรรม
5.คุณค่าในเชิงสังคมวิทยา
6.คุณค่าในด้านโบราณคดี
7.คุณค่าในการศึกษาประเพณีและวัฒนธรรม
8.คุณค่าในการศึกษาเรื่องทัศนคติค่านิยม
9.คุณค่าในการศึกษานิเวศวิทยา
10.คุณค่าในการศึกษาเรื่องราวทางพุทธศาสนา
11.คุณค่าในทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยว
 
เส้น
 เส้น คือ ร่องรอยที่เกิดจากเคลื่อนที่ของจุด หรือถ้าเรานำจุดมาวางเรียงต่อ ๆ กันไป ก็จะเกิดเป็นเส้นขึ้น เส้นมีมิติเดียว คือ ความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขต ของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง น้ำหนัก สี ตลอดจนกลุ่มรูปทรงต่าง ๆ รวมทั้งเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูปร่างรูปทรง 
 เส้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถให้ความหมาย แสดง ความรู้สึก และอารมณ์ได้ด้วยตัวเองและด้วยการสร้างเป็นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และเส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่าง ๆ กัน จะมีชื่อเรียกต่าง ๆ และให้ความหมายความรู้สึกที่แตกต่างกันอีกด้วยลักษณะของเส้น

ความสำคัญของเส้น
1. ใช้ในการแบ่งที่ว่างออกเป็นส่วน ๆ
2. กำหนดขอบเขตของที่ว่าง หมายถึง ทำให้เกิดเป็นรูปร่าง (Shape) ขึ้นมา
3. กำหนดเส้นรอบนอกของรูปทรง ทำให้มองเห็นรูปทรง (Form) ชัดขึ้น
4. ทำหน้าที่เป็นน้ำหนักอ่อนแก่ ของแสดงและเงา หมายถึง การแรเงาด้วยเส้น
5. ให้ความรู้สึกด้วยการเป็นแกนหรือโครงสร้างของรูป และโครงสร้างของภาพ 



เส้น
ลักษณะของเส้น
1. เส้นตั้ง หรือ เส้นดิ่ง ให้ความรู้สึกทางความสูง สง่า มั่นคง แข็งแรง หนักแน่น เป็นสัญลักษณ์ของความซื่อตรง
2. เส้นนอน ให้ความรู้สึกทางความกว้าง สงบ ราบเรียบ นิ่ง ผ่อนคลาย
3. เส้นเฉียง หรือ เส้นทะแยงมุม ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว รวดเร็ว ไม่มั่นคง
4. เส้นหยัก หรือ เส้นซิกแซก แบบฟันปลา ให้ความรู้สึก คลื่อนไหว อย่างเป็น จังหวะ มีระเบียบ ไม่ราบเรียบ น่ากลัว อันตราย ขัดแย้ง ความรุนแรง
5. เส้นโค้ง แบบคลื่น ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ลื่นไหล ต่อเนื่อง สุภาพ อ่อนโยน นุ่มนวล
6. เส้นโค้งแบบก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหว คลี่คลาย หรือเติบโตในทิศทางที่ หมุนวนออกมา ถ้ามองเข้าไปจะเห็นพลังความเคลื่อนไหวที่ไม่
7. เส้นโค้งวงแคบ ให้ความรู้สึกถึงพลังความเคลื่อนไหวที่รุนแรง การเปลี่ยนทิศทาง ที่รวดเร็ว ไม่หยุดนิ่ง
8. เส้นประ ให้ความรู้สึกที่ไม่ต่อเนื่อง ขาด หาย ไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความ
 


การเน้น (Emphasis) 
การเน้น หมายถึง การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา
ในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ เป็นประธานอยู่ถ้าส่วนนั้นๆ อยู่ปะปนกับส่วนอื่น ๆ และมีลักษณะเหมือน ๆ กัน ก็อาจถูกกลืน หรือ ถูกส่วนอื่นๆ
ที่มีความสำคัญน้อยกว่าบดบัง หรือแย่งความสำคัญ ความน่าสนใจไปเสียงานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือประธานจะทำให้ดูน่าเบื่อเหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกันโดยปราศจาก ความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนั้น ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้น การเน้นจุดสนใจสามารถทำได้ 3 วิธีคือ

1. การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast)
สิ่งที่แปลกแตก ต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้ง กับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาลักษณะความแตกต่างที่นำมาใช้ด้วยว่า ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันในส่วนรวมและทำให้เนื้อหาของงานเปลี่ยนไปหรือไม่ โดยต้องคำนึงว่า แม้มีความขัดแย้ง แตกต่างกันในบางส่วน และในส่วนรวมยังมีความกลมกลืนเป็นเอกภาพเดียว

2. การเน้นด้วยการด้วยการอยู่โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)
เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยกออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจเพราะเมื่อแยกออกไปแล้วก็จะเกิดความสำคัญขึ้นมา ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่าง ที่ไม่ใช่แตกต่างด้วยรูปลักษณะแต่เป็นเรื่องของตำแหน่งที่จัดวาง ซึ่งในกรณีนี้ รูปลักษณะนั้นไม่จำเป็นต้องแตกต่างจากรูปอื่น แต่ตำแหน่งของมันได้ดึงสายตาออกไป จึงกลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา

3. การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement)
เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมาและการจัดวางตำแหน่งที่เหมาะสม ก็สามารถทำให้จุดนั้นเป็นจุดสำคัญขึ้นมาได้เช่นกันพึงเข้าใจว่า การเน้นไม่จำเป็นจะต้องชี้แนะให้เห็นเด่นชัดจนเกินไป สิ่งที่จะต้องระลึกถึงอยู่เสมอ คือ เมื่อจัดวางจุดสนใจแล้ว จะต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้สิ่งอื่นมาดึงความสนใจออกไป จนทำให้เกิดความสับสน การเน้น สามารถกระทำได้ด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น เส้น สี แสง-เงา รูปร่าง รูปทรง หรือ พื้นผิวทั้งนี้ขึ้นอยู่ความต้องการในการนำเสนอของศิลปิน

สี(colour)
   สีเป็นสิ่ง ที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตซึ่งมนุษย์รู้จักสามารถนำมาใช้ให้ เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ในอดีตกาลมนุษย์ได้ค้น พบสีจากแหล่งต่าง ๆ จากพืช สัตว์  ดิน และแร่ธาตุนานาชนิดจากการค้นพบสีต่าง ๆ เหล่านั้นมนุษย์ได้นำเอาสีต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางโดยนำมาระบายลงไปบนสิ่งของภาชนะเครื่องใช้หรือ ระบายลงไปบนรูปปั้นรูปแกะสลักเพื่อให้รูปเด่นชัดขึ้น มีความเหมือนจริงมากขึ้น รวมไปถึงการใช้สีวาดลงไปบนผนังถ้ำ หน้าผาก้อนหิน เพื่อใช้ถ่ายทอดเรื่องราว และทำให้เกิดความรู้สึกถึงพลังอำนาจที่มีอยู่เหนือสิ่งต่าง  ๆ ทั้งปวง การใช้สีทาตามร่างกายเพื่อกระตุ้นให้เกิดความฮึกเหิมเกิดพลังอำนาจหรือใช้สี เป็นสัญลักษณ์ในการถ่ายทอด ความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งในสมัยเริ่มแรก มนุษย์รู้จักใช้สีเพียงไม่กี่สี  สีเหล่านั้นได้มาจากพืช สัตว์ ดินแร่ธาตุต่าง ๆ รวมถึงขี้เถ้าเขม่าควันไฟเป็นสีที่พบทั่วไปในธรรมชาติ นำมาถู ทาต่อมาเมื่อทำการย่างเนื้อสัตว์ ไขมัน น้ำมัน ที่หยดจากการย่างลงสู่ดินทำให้ดินมีสีสันน่าสนใจสามารถนำมาระบายลงบนวัตถุ และติดแน่นทนนานดังนั้นไขมันนี้ จึงได้ทำหน้าที่เป็นส่วนผสม (binder) ซึ่งมีความสำคัญในฐานะเป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นส่วนประกอบของสี ทำหน้าที่เกาะติดผิวหน้าของวัสดุที่ถูกนำไปทาหรือระบายนอกจากไขมันแล้วยัง ได้นำไข่ขาว ขี้ผึ้ง (Wax) น้ำมันลินสีด (Linseed) กาวและยางไม้ (Gum arabic) เคซีน (Casein: ตะกอนโปรตีนจากนม) และสารพลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) มาใช้เป็นส่วนผสมทำให้เกิดสีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาองค์ประกอบของสีแสดงได้ดังนี้
เนื้อสี (รงควัตถุ)  + ส่วนผสม    = สีชนิดต่าง ๆ
  ในสมัยต่อมา เมื่อมนุษย์มีวิวัฒนาการมากขึ้นเกิดคตินิยมในการรับรู้และชื่นชมในความงาม ทางสุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) สีได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและวิจิตรพิสดารจากเดิมที่เคย ใช้สีเพียงไม่กี่สีซึ่งเป็นสีตามธรรมชาติ ได้นำมาซึ่งการประดิษฐ์คิดค้นและ ผลิตสีใหม่ ๆ ออกมาเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความงามอย่างไม่มีขีดจำกัดโดยมีการ พัฒนามาเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง
ที่มาของสี
   สีที่มนุษย์ใช้อยู่ทั่วไป ได้มาจาก
      1 สสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และนำมาใช้โดยตรง หรือด้วยการสกัด  ดัดแปลงบ้าง จากพืช สัตว์  ดิน แร่ธาตุต่าง ๆ
      2 สสารที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งผลิตขึ้นโดยกระบวนการทางเคมี เป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นเพื่อให้สามารถนำมาใช้ได้ สะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นสีที่เราใช้อยู่ทั่วไปในปัจจุบัน
      3 แสง เป็นพลังงานชนิดเดียวที่ให้สี โดยอยู่ในรูปของรังสี (Ray) ที่มีความเข้มของแสงอยู่ในช่วงที่สายตามองเห็นได้ 
สี(colour) 

ความสำคัญของสี
 สี คือลักษณะของแสงที่ ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสีในทางวิทยาศาสตร์ให้คำจำกัดความของสีว่า เป็นคลื่นแสงหรือความเข้มของแสงที่สายตาสามารถมองเห็นในทางศิลปะ สีคือทัศน ธาตุอย่างหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของงานศิลปะ และใช้ในการสร้างงานศิลปะโดยจะทำให้ผลงานมีความสวยงาม ช่วยสร้างบรรยากาศมี ความสมจริงเด่นชัดและน่าสนใจมากขึ้น
 สี เป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของงานศิลปะ และเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึก
 อารมณ์ และจิตใจ ได้มากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิตของมนุษย์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสีต่าง ๆ อย่างแยกไม่ออกโดยที่สีจะให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น
       1 ใช้ในการจำแนกสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เห็นชัดเจน
       2 ใช้ในการจัดองค์ประกอบของสิ่งต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวยงาม กลมกลืน เช่น การแต่งกาย  การจัดตกแต่งบ้าน
       3 ใช้ในการจัดกลุ่ม พวก คณะ ด้วยการใช้สีต่าง ๆ เช่น คณะสี  เครื่องแบบต่าง ๆ
       4 ใช้ในการสื่อความหมาย เป็นสัญลักษณ์ หรือใช้บอกเล่าเรื่องราว
       5 ใช้ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อให้เกิดความสวยงาม สร้างบรรยากาศ  สมจริงและน่าสนใจ
       6 เป็นองค์ประกอบในการมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ 

 
สี(colour) 

การใช้สีในยุคสมัยต่าง ๆ
อียิปต์โบราณ
  ในสมัยอียิปต์โบราณการใช้สีมีความสัมพันธ์กับพิธีกรรมและเรื่องราว ที่เกี่ยวกับศาสนาการระบายสีไม่เกี่ยวข้องกับความเป็นจริงทางทัศนียวิทยา หรือหลักความเป็นจริงเป็นภาพที่ไม่มีแสงเงาเป็นรูปแบนระบายสีที่สว่างสดใส มองเห็นชัดเจนโดยใช้เทคนิคสีฝุ่นผสมไข่ขาว (egg tempera) หรือใช้ไข่ขาวเคลือบบนผิวที่เขียนด้วยสีฝุ่นผสมน้ำ

กรีกโบราณ
  ผลงานในสมัยกรีกโบราณ ที่เห็นชัดเจนจะได้แก่งานประติมากรรมและสถาปัตยกรรมจะพบเห็นงานจิตรกรรมค่อน ข้างน้อยไม่ค่อยปรากฏงานจิตรกรรมฝาผนัง แต่จะพบในงานวาดภาพระบายสีตกแต่งเครื่องปั้นดินเผา จะนิยมใช้สีเพียง 2 - 3 สี คือ ขาว เหลือง แดง และเคลือบดำ

โรมันโบราณ
  นิยมสร้างภาพบนผนังและพื้นห้องประดับด้วยโมเสค (Mosaic)  สำหรับการวาดภาพใช้เทคนิคผสมไข (Encaustic painting) ซึ่งเป็นการใช้สีผสมกับไขระบายในขณะที่ยังร้อน ๆ จากการค้นพบหลักฐานผลงานในสมัยโรมันหลาย ๆ แห่ง นิยมสร้างเป็นภาพในเมืองชนบท ภูเขา ทะเลการต่อสู้  กิจกรรมของพลเมือง การค้าขาย  กีฬา เรื่องเกี่ยวกับนินายปรัมปราและประวัติศาสตร์

คริสเตียนยุคแรก
  ในยุคไบเซนไทน์ (Bizentine) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของคริสเตียนนิยมสร้างภาพโดยใช้โมเสคกระจก( Glass  Mosaic) ทำเป็นภาพบุคคลสำคัญในพระคัมภีร์ไบเบิล ประดับตกแต่งภายในโบสถ์โดยมากมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงถึงความศรัทธาอย่างสูง ต่อศาสนาคริสต์

การใช้สีในจิตรกรรมไทย
            จิตรกรรมไทย เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สะท้อนให้เห็นถึง วัฒนธรรม อันดีงามของชาติ มีคุณค่าทางศิลปะและเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ราวทางประวัติศาสตร์ ศาสนาและโบราณคดี จิตรกรรมไทยแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
        1 จิตรกรรมไทยแบบประเพณี (Thai Traditional painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงความรู้สึกชีวิตจิตใจและความเป็นไทย ที่มีความละเอียด  อ่อนช้อยงดงาม สร้างสรรค์สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต และสังเคราะห์จนได้ลักษณะประจำชาติ ที่มีรูปแบบเป็นพิเศษเฉพาะตัว เป็นงานศิลปะในแบบอุดมคติ (Idialistic Art) นิยมเขียนเป็นภาพที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวต่าง ๆ คือ
            1.1   พุทธประวัติ และเรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพุทธ
            1.2   พงศาวดาร  ตำนาน เรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์  เรื่องคตินิยมอันเป็นมงคล
            1.3   วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่  ขนบธรรมเนียม ประเพณีต่าง ๆ
       ลักษณะของผลงานเป็นภาพจิตรกรรม ระบายสีแบนเรียบด้วยสีที่ค่อนข้างสดใส แล้วตัดเส้นมีขอบที่คมชัดให้ความรู้สึกเป็นภาพ 2  มิติ มีลักษณะในการจัดวางภาพแบบเล่าเรื่องเป็นตอน ๆ จากบนลงล่าง มีวิธีการใช้สีแตกต่างกันออกไปตามยุคสมัย ทั้งสีเอกรงค์ และพหุรงค์
        2 จิตรกรรมไทยร่วมสมัย (Thai Contemporary painting) เป็นงานจิตรกรรมที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมใหม่แนวความคิดใหม่ ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน เป็นรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลจากงานศิลปะตะวันตกที่นำมาผสมผสานกับรูปลักษณ์ แบบไทย ๆ แล้วสร้างสรรค์เป็นรูปแบบใหม่ขึ้นสีที่ช่างนำมาใช้ในงานจิตรกรรมแต่เดิมนั้น มีน้อยมาก  มักใช้สีเดียว ที่เรียกว่า  "เอกรงค์" โดยใช้สีขาว สีดำและสีแดงเท่านั้น  ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมาก ต่อมาสีที่ใช้ในภาพจิตรกรรมก็มีมากขึ้น มีการเขียนภาพ ที่เรียกว่า"เบญจรงค์" คือใช้สี 5 สี ได้แก่ สีเหลือง เขียวหรือคราม แดงชาด ขาวและดำการวาดภาพที่ใช้หลาย ๆ สี เรียกว่า "พหุรงค์" สีที่ใช้ล้วนได้มาจากธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ และมีที่กำเนิดต่าง ๆ กันบางสีเป็นธาตุจากดิน บางสีได้จากสัตว์จากกระดูก เขา งา เลือด บางสีได้จากพืชลักษณะของสีที่นำมาใช้มักจะทำเป็นผงละเอียดซึ่ง เรียกว่า  สีฝุ่น (Tempera) นำมาผสมกับวัสดุอื่นเพื่อให้ยึดเกาะผิวหน้าวัตถุได้ดี  ได้แก่ กาวหรือ ยางไม้  ที่นิยมใช้คือ ยางของต้นมะขวิด  และกาวกระถิน  ลักษณะเด่นของจิตรกรรมไทยอีกอย่างหนึ่งคือ การปิดทองคำเปลวในบางส่วนของภาพที่มีความสำคัญ เช่น  เป็นเครื่องทรงหรือเป็นผิวกายของของบุคคลสำคัญในเรื่องเป็นส่วนประกอบของ ปราสาทราชวัง หรือสถาปัตยกรรมที่สำคัญ ๆ ในภาพ เป็นต้น 



ชนิดของสี
  สีน้ำ   WATER COLOUR
สีน้ำเป็นสีที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณทั้งในแถบยุโรปและ เอเชียโดยเฉพาะจีนและญี่ปุ่นซึ่งมีความสามารถในการระบายสีน้ำแต่ในอดีตการ ระบายสีน้ำมักใช้เพียงสีเดียว คือ สีดำผู้ที่จะระบายได้อย่างสวยงามจะต้องมีทักษะการใช้พู่กันที่สูงมากการ ระบายสีน้ำจะใช้น้ำเป็นส่วนผสม และทำละลายให้เจือจางในการใช้สีน้ำไม่นิยมใช้สีขาวผสมเพื่อให้มีน้ำหนักอ่อน ลง และไม่นิยมใช้สีดำผสมให้มีน้ำหนักเข้มขึ้นเพราะจะทำให้เกิดน้ำหนักมืดเกินไป แต่จะใช้สีกลางหรือสีตรงข้ามผสมแทนลักษณะของภาพวาดสีน้ำจะมีลักษณะใสบาง และสะอาดการระบายสีน้ำต้องใช้ความชำนาญสูงเพราะผิดพลาดแล้วจะแก้ไขยากจะ ระบายซ้ำ ๆ ทับกันมาก ๆ ไม่ได้จะทำให้ภาพออกมามีสีขุ่น ๆ ไม่น่าดูหรือที่เรียกว่า สีเน่า สีน้ำที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน จะบรรจุในหลอดเป็นเนื้อสีฝุ่นที่ผสมกับกาวอะราบิค ซึ่งเป็นกาวที่สามารถละลายน้ำได้ มีทั้งลักษณะที่โปร่งแสง (Transparent) และกึ่งทึบแสง (Semi-Opaque)  ซึ่งจะมีระบุไว้ข้างหลอดสีน้ำนิยมระบายบนกระดาษที่มีผิวขรุขระหยาบ


 
สีชอล์ค  PASTEL
   สีชอล์คเป็นสีฝุ่นผงละเอียดบริสุทธิ์นำมาอัดเป็นแท่ง ใช้ในการวาดภาพ มากว่า 250 ปีแล้วปัจจุบัน มีการผสมขี้ผึ้งหรือกาวยางไม้เข้าไปด้วยแล้วอัดเป็นแท่งในลักษณะของดินสอสี แต่มีเนื้อละเอียดกว่าแท่งใหญ่กว่าและมีราคาแพงกว่ามาก มักใช้ในการวาดภาพเหมือน

สีเทียน   OIL PASTEL
   สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน เป็นสีฝุ่นผงละเอียด ผสมกับไขมันสัตว์หรือขี้ผึ้ง แล้วนำมาอัดเป็นแท่งมีลักษณะทึบแสง สามารถเขียนทับกันได้  การใช้สีอ่อนทับสีเข้มจะมองเห็นพื้นสีเดิมอยู่บ้างการผสมสีอื่น ๆใช้การเขียนทับกัน สีเทียนน้ำมันมักไม่เกาะติดพื้น สามารถขูดสีออกได้ และกันน้ำถ้าต้องการให้ สีติดแน่นทนนานจะมีสารพ่นเคลือบผิวหน้าสี  สีเทียนหรือสีเทียนน้ำมัน มักใช้เป็นสีฝึกหัดสำหรับเด็กเนื่องจากใช้ง่ายไม่ยุ่งยากไม่เลอะเทอะเปรอะ เปื้อน และมีราคาถูก

ดินสอสี  CRAYON
  ดินสอสี เป็นสีผงละเอียด ผสมกับขี้ผึ้งหรือไขสัตว์ นำมาอัดให้เป็นแท่งอยู่ในลักษณะของดินสอเพื่อให้เหมาะสำหรับเด็ก ๆ ใช้งาน มีลักษณะคล้ายกับสีชอล์ค แต่เป็นสีที่มีราคาถูก เนื่องจากมีส่วนผสมอื่น ๆ ปะปนอยู่มาก มีเนื้อสีน้อยกว่า ปัจจุบันมีการพัฒนาให้สามารถละลายน้ำหรือน้ำมันได้ โดยเมื่อใช้ดินสอสีระบาย สีแล้วนำพู่กันจุ่มน้ำมาระบายต่อ ทำให้มีลักษณะคล้ายกับภาพสีน้ำ ( Aquarelle ) บางชนิดสามารถละลายได้ในน้ำมัน ซึ่งทำให้กันน้ำได้



สีโปสเตอร์   POSTER  COLOUR
   สีโปสเตอร์ เป็นสีชนิดสีฝุ่น (Tempera) ที่ผสมกาวน้ำบรรจุเสร็จเป็นขวด การใช้งานเหมือนกับสีน้ำ คือใช้น้ำเป็นตัวผสมให้เจือจางสีโปสเตอร์เป็นสีทึบแสง มีเนื้อสีข้น สามารถระบายให้มีเนื้อเรียบได้และผสมสีขาวให้มีน้ำหนักอ่อนลงได้เหมือนกับสี น้ำมันหรือสีอะครีลิคสามารถระบายสีทับกันได้ มักใช้ในการวาดภาพ ภาพประกอบเรื่องในงานออกแบบต่าง ๆ ได้สะดวกในขวดสีโปสเตอร์มีส่วนผสมของกลีเซอรีนจะทำให้แห้งเร็ว
สีฝุ่น  TEMPERA
 สีฝุ่น เป็นสีเริ่มแรกของมนุษย์ ได้มาจากธรรมชาติ ดิน หิน แร่ธาตุ พืช สัตว์ นำมาทำให้ละเอียดเป็นผงผสมกาวและน้ำกาวทำมาจากหนังสัตว์ กระดูกสัตว์ สำหรับช่างจิตรกรรมไทยใช้ ยางมะขวิด หรือกาวกระถิน ซึ่งเป็นตัวช่วยให้สีเกาะติดพื้นผิวหน้าวัตถุไม่หลุดได้โดยง่าย ในยุโรปนิยม เขียนสีฝุ่น โดยผสมกับกาวยาง กาวน้ำ หรือไข่ขาว สีฝุ่นเป็นสีที่มีลักษณะทึบแสง มีเนื้อสีค่อนข้างหนา เขียนสีทับกันได้ สีฝุ่นมักใช้ในการเขียนภาพทั่วไป โดยเฉพาะภาพฝาผนัง  ในสมัยหนึ่งนิยมเขียนภาพผาฝนัง ที่เรียกว่า สีปูนเปียก (Fresco) โดยใช้สีฝุ่นเขียนในขณะที่ปูนที่ฉาบผนังยังไม่แห้งดี เนื้อสีจะซึมเข้าไปใน เนื้อปูนทำให้ภาพไม่หลุดลอกง่าย สีฝุ่นในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นผง เมื่อใช้งานนำมาผสมกับน้ำโดยไม่ต้องผสมกาว เนื่องจากในกระบวนการผลิตได้ทำการผสมมาแล้ว การใช้งานหมือนกับสีโปสเตอร์

                  
สีอะครีลิค  (ACRYLIC  COLOUR)
   สีอะครีลิค เป็นสีที่มีส่วนผสมของสารพลาสติกโพลีเมอร์ (Polymer) จำพวกอะครีลิค (Acrylic) หรือไวนิล (Vinyl) เป็นสีที่มีการผลิตขึ้นมาใหม่ล่าสุด เวลาจะใช้นำมาผสมกับน้ำใช้งานได้เหมือนกับสีน้ำและสีน้ำมัน มีทั้งแบบโปร่งแสง และทึบแสงแต่จะแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน 1 - 6 ชั่วโมง เมื่อแห้งแล้วจะมีคุณสมบัติกันน้ำได้และเป็นสีที่ติดแน่นทนนานคงทน ต่อสภาพดินฟ้าอากาศ สามารถเก็บไว้ได้นาน ๆ ยึดเกาะติดผิวหน้าวัตถุได้ดีเมื่อระบายสีแล้วอาจใช้น้ำยาวานิช (Vanish) เคลือบผิวหน้าเพื่อป้องกันการขูดขีด เพื่อให้คงทนมากยิ่งขึ้น สีอะครีลิคที่ใช้วาดภาพบรรจุในหลอด มีราคาค่อนข้างแพง
สีน้ำมัน  (OIL  COLOUR)
  สีน้ำมัน ผลิตจากการผสมของสีฝุ่นกับน้ำมัน ซึ่งเป็นน้ำมันจากพืช เช่น น้ำมันลินสีด ( Linseed ) ซึ่งกลั่นมาจากต้นแฟลกซ์ หรือน้ำมันจากเมล็ดป๊อบปี้ สีน้ำมันเป็นสีทึบแสง เวลาระบายมักใช้สีขาวผสมให้ได้น้ำหนักอ่อนแก่ งานวาดภาพสีน้ำมัน มักเขียนลงบนผ้าใบ  (Canvas) มีความคงทนมากและกันน้ำ ศิลปินรู้จักใช้สีน้ำมันวาดภาพมาหลายร้อยปีแล้ว การวาดภาพสีน้ำมันอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ เนื่องจากสีน้ำมันแห้งช้ามาก ทำให้ไม่ต้องรีบร้อน สามารถวาดภาพสีน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ ๆ และสามารถแก้ไขงาน ด้วยการเขียนทับงานเดิม สีน้ำมันสำหรับเขียนภาพจะบรรจุในหลอด ซึ่งมีราคาสูงต่ำขึ้นอยู่กับคุณภาพ การใช้งานจะผสมด้วยน้ำมันลินสีด ซึ่งจะทำให้เหนียวและเป็นมัน แต่ถ้าใช้น้ำมันสน จะทำให้แห้งเร็วขึ้นและสีด้าน พู่กันที่ใช้ระบายสีน้ำมันเป็นพู่กันแบนที่มีขนแข็ง ๆ สีน้ำมันเป็นสีที่ศิลปินส่วนใหญ่นิยมใช้วาดภาพ มาตั้งแต่สมัยเรอเนซองส์ยุคปลาย 
 

แม่สี
  แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม แม่สีมือยู่ 2 ชนิด คือ
    1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพ ภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
    2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
 แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ในวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ

วงจรสี (Colour Circle)
วงจรสี (Colour Circle)
   สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
   สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ 
                   สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สีส้ม
                   สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                  สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
   สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
                   สีแดง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
   วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็นในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สีซึ่งแบ่งที่สีม่วงกับสีเหลืองซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
 

   สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใสเท่าที่ควร การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
     1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
   สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทา
  สีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้นๆเข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยนแปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล  
  สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืดหม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทา
 



แสงสีกับการมองเห็น
  สีต่าง ๆ จะเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมของสีและยังขึ้นอยู่สภาพของแสงด้วยโดยที่ในที่มี แสงว่างจัด ๆ สีจะดูอ่อนลงในที่ที่มีแสงสว่างน้อยลง สีก็จะเข้มขึ้นด้วยและในที่ไม่มี แสงสว่างเลยเราจะมองเห็นสีต่าง ๆ เป็นสีดำถึงแม้จะมีความเข้มของแสงเหมือนกัน แต่ถ้ามีสภาพแวดล้อมของสีแตกต่างกันเช่น สีแสดที่อยู่บนพื้นสีดำจะดูอ่อนกว่าสีแสดที่อยู่บนพื้นสีขาวและสีที่อยู่บน พื้นสีต่าง ๆ กันก็จะดูมีความเข้มต่างกัน สีที่บนพื้นสีเข้มจะมองเห็นเด่นชัดกว่าสีที่ อยู่บนพื้นสีสว่าง เนื่องจากสีดำไม่สะท้อนแสงสีต่าง ๆ ทำให้ไม่รบกวนการมองเห็น

  การมองเห็นของสีตรงข้าม การใช้สีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกันโดยนำมาวางอยู่เคียงคู่กันทั้งสองสีจะส่งผล ต่อคู่สีอีกสีหนึ่งเราจะเห็นว่าสีเขียวที่อยู่บนสีแดงจะดูมีขนาดใหญ่กว่าสี แดงที่อยู่บนสีเขียว ทั้งสองสีต่างหักล้างค่าความเข้มของสีซึ่งกันและกันจะทำให้ไม่ดูสดใสเท่าที่ ควรปรากฎการณ์อีกอย่างหนึ่งของสีตรงข้ามคือ ภาพติดตา (After Image)โดยการจ้องมองสีใดสีหนึ่งที่สดจัดในที่มีแสงสว่างจ้าสักครู่จากนั้นไป จ้องมองที่กระดาษสีขาว จะปรากฎสีตรงข้ามของสีนั้น ๆ ขึ้นที่กระดาษสีขาวซึ่งเกิดจากอิทธิพลความแรงของสี
  ภาพติดตาอีกลักษณะหนึ่ง ก็คือสีขาวกับสีดำจากภาพเส้นตารางสีขาว บนพื้นสีดำจะมองเห็นจุดตัดแนวตั้ง กับแนวนอนของเส้นตารางสีขาวมีสีเทา ๆ ลักษณะเช่นนี้เกิดจากอิทธิพลของสีตรงข้ามที่อยู่ข้างเคียงคือสีดำและรูปสี ขาวบนพื้นดำจะดูใหญ่กว่ารูปสีดำที่อยู่พื้นขาว
 

คุณลักษณะองสี
คุณลักษณะของสี เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงามและความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้โดยทั่วไป มีดังนี้ คือ
สีเอกรงค์  (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนักซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิมภาพจิตรกรรมไทย แบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้นทำให้มีหลายสีซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสีเอกรงค์ มักดูเรียบ ๆ ไม่ค่อยน่าสนใจ
วรรณะของสี  (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ วรรณะสีร้อน และ สีเย็นสีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ในวงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่มสีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สีต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้งการเลือกใช้สีในวรรณะใด ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงาน 
                                            

คุณลักษณะของสี
  ค่าน้ำหนักของสี (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนักในระดับต่าง ๆ กัน และมีสีหลาย ๆ สี ซึ่งถ้าเป็นสีเดียว ก็จะมีลักษณะเป็นสีเอกรงค์ การใช้ค่าน้ำหนักของสี จะทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดระยะใกล้ไกล ตื้นลึก ถ้ามีค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้นแต่ถ้ามีเพียง1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่าง

   ความเข้มของสี (Intensity)เกิด จาก สีแท้ คือสีที่เกิดจากการผสมกันในวงจรสี เป็นสีหลักที่ผสมขึ้นตามกกฎเกณฑ์และไม่ถูกผสมด้วยสีกลางหรือสีอื่น ๆ จะมีค่าความเข้มสูงสุด หรือแรงจัดที่สุดเป็นค่าความแท้ของสี ที่ไม่ถูกเจือปน เมื่อสีเหล่านี้อยู่ท่ามกลางสีอื่น ๆ ที่ถูกผสมให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงให้มืด หม่น หรือเปลี่ยนค่าไปแล้วสีแท้จะแสดงความแรงของสีปรากฎออกมาให้เห็น อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงานลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับ ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสด ๆ หรือบานเย็น ที่อยู่ท่ามกลางใบเฟื่องฟ้าที่เขียวจัด ๆ หรือ พลุที่ถูกจุดส่องสว่างในยามเทศกาล ตัดกับสีมืด ๆ ทึบ ๆ ทึมๆ ของท้องผ้ายามค่ำคืน เป็นต้น
  สีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุม สีอื่น ๆ ที่อยู่ในภาพ เช่น ในทุ่งดอกทานตะวันที่กำลังออกดอกชูช่อบานสะพรั่ง สีส่วนรวมก็คือ สีของดอกทานตะวัน หรือบรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลในสนาม ถึงแม้ผู้เล่นทั้งสองทีมจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้า หลากสีต่างกันก็ตามแต่ สีเขียวของสนามก็จะมีอิทธิพลครอบคลุมสีต่าง ๆ ทั้งหมด สีใดก็ตามที่มีลักษณะเช่นนี้เป็นสีส่วนรวมของภาพ

แสงสี
 แสงเป็นพลังงานรังสี ( Radiation Energy )  ที่ตารับรู้และมีปฏิกิริยาตอบสนองด้วยกระบวนการ วิเคราะห์แยกแยะของสมอง  ตาสามารถวิเคราะห์พลังงานแสงโดยการรับรู้วัตถุ สัมพันธ์กับตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง ความเข้มของแสง และความยาวคลื่นที่มองเห็นได้ 


 
สี คือลักษณะความเข้มของแสงที่ปรากฏแก่สายตาให้เห็นเป็นสี  โดยผ่านกระบวนการรับรู้ด้วยตา มองจะรับข้อมูลจากตา โดยที่ตาได้ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลพลังงานแสงมาแล้วผ่านประสาท สัมผัสการมองเห็น ผ่านศูนย์สับเปลี่ยนในสมองไปสู่ศูนย์การมองเห็นภาพ การสร้างภาพ หรือการมอง เห็นก็คือ การที่ข้อมูลได้ผ่านการวิเคราะห์แยกแยะให้เรารับรู้ถึงสรรพสิ่งรอบตัว 

แสงสี
  การตรวจวัดคลื่นแสงเริ่มขึ้นใน คริสต์ศตวรรษที่ 19  ในปี 1928 ไรท์ ( W.D.Wright ) และกิลด์ ( J.Guild ) ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดคลื่นแสงครั้งสำคัญ และได้รับการรับรองจาก Commission Internationale de l 'Eclairage หรือ CIE ในปี 1931 โดยถือว่าเป็นการตรวจวัดมาตรฐาน สามเหลี่ยมสี CIE เป็นภาพแสดงรูปสามเหลี่ยมเกือกม้านำเสนอไว้ในปี 1931 โดยการวิเคราะห์สีจากแสงสเปคตรัม สัมพันธ์กับความยาวคลื่นแสง แสดงถึงแสงสีขาวท่ามกลางแสงสเปคตรัมรอบรูปเกือกม้าโค้งรูปเกือกม้าแสดงความ ยาวคลื่นจาก 400- 700 mu สามเหลี่ยมสี CIEสร้างขึ้นตามระบบความสัมพันธ์พิกัด X และ Y คาร์เตเชียน ในทางคณิตศาสตร์จากมุมตรงข้าม  3  มุมของรูปเกือกม้า คือสีน้ำเงินม่วงเข้มประมาณ 400 mu สีเขียวประมาณ  520 mu และสีแดงประมาณ 700 mu คือสีจากแสง ที่จะนำมาผสมกันและก่อให้เกิดสีต่าง ๆ ขึ้น แสงสีแดงมีความยาวคลื่นสูงสุด แต่มีความถี่คลื่นต่ำสุด จะหักเหได้น้อยที่สุดและแสงสีม่วงจะมีความยาวคลื่นน้อยสุด แต่มีความถี่คลื่นสูงสุดและหักเหได้มากที่สุด
  โครงสร้างของสามเหลี่ยมสี CIE นี้ มิได้ขึ้นอยู่กับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง แต่เกิดจากการทดลองค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ระบบการพิมพ์อุตสาหกรรม การถ่าย ภาพภาพยนตร์ โทรทัศน์ ได้ใช้โครงสร้างสีนี้เป็นหลักในระบบการพิมพ์ได้ใช้สีจากด้าน 3 ด้านของรูป เกือกม้าคือ สีเหลือง ฟ้า สีม่วงแดง และสีดำเป็นหลักส่วนในการถ่ายภาพภาพยนตร์ โทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ ใช้สีจากมุมทั้งสาม คือ แดง  เขียว น้ำเงิน เป็นหลัก 
  ในราวปี ค.ศ. 1666  เซอร์  ไอแซค  นิวตันได้แสดงให้เห็นว่า สีคือส่วนหนึ่งในธรรมชาติของแสงอาทิตย์โดยให้ลำแสงส่องผ่านแท่งแก้วปริซึม แสงจะหักเห เพราะแท่งแก้วปริซึมความหนาแน่นมากกว่าอากาศเมื่อลำแสงหักเหผ่านปริซึมจะ ปรากฏแถบสีสเปคตรัม ( Spectrum)  หรือที่เรียกว่า สีรุ้ง (Rainbow) คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เมื่อแสงตกกระทบโมเลกุลของสสาร พลังงานบางส่วนจะดูดกลืนสีจากแสงบางส่วน และสะท้อนสีบางสีให้ปรากฏเห็นได้ พื้นผิววัตถุที่เราเห็นเป็นสีแดง เพราะ วัตถุดูดกลืนแสงสีอื่นไว้ สะท้อนเฉพาะแสงสีแดงออกมาวัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงสีทุกสี และวัตถุสีดำจะดูด กลืนทุกสี





แสงสี
  จากทฤษฎีการการหักเหของแสงของ ของนิวตัน และจากสามเหลี่ยมสี CIE พบว่า แสงสีเป็นพลังงานเพียงชนิดเดียวที่ปรากฎสี จากด้านทั้ง 3 ด้านของรูปสาม เหลี่ยมสี CIE นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดแม่สีของแสงไว้ 3 สีคือ สีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) แสงทั้งสามสี เมื่อนำมาฉายส่องรวมกันจะทำให้เกิดสีต่าง ๆ ขึ้นมาคือ
    แสงสีแดง   +   แสงสีเขียว     =    แสงสีเหลือง (Yellow)
    แสงสีแดง   +   แสงสีน้ำเงิน    =   แสงสีแดงมาเจนตา (Magenta)
    แสงสีน้ำเงิน+   แสงสีเขียว      =   แสงสีฟ้าไซแอน (Cyan)

 และถ้าแสงสีทั้งสามสีฉาย รวมกันจะได้แสงสีขาว หรือไม่มีสี เราสามารถสังเกตแม่สีของแสงได้จากโทรทัศน์ สี หรือจอคอมพิวเตอร์สี โดยใช้แว่นขยายส่องดูหน้าจอจะเห็นเป็นแถบสีแสงสว่าง3 สีคือ แดง เขียว และน้ำเงิน นอกจากนี้เราจะสังเกตเห็นว่า เครื่องหมายของสถานีโทรทัศน์สีหลาย ๆ ช่องจะใช้แม่สีของแสงด้วยเช่นกัน ทฤษฎีของแสงสีนี้ เป็นระบบสีที่เรียกว่า RGB (Red - Green - Blue) เราสามารถนำไปใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์ บันทึกภาพวิดีโอ การสร้างภาพ เพื่อแสดงทางคอมพิวเตอร์ การจัดไฟแสงสีในการแสดง การจัดฉากเวที เป็นต้น



ขอขอบคุณ/อ้างอิง/ที่มา  http://www.thaigoodview.com

 

ประเภทของงานศิลปะ

ประเภทของงานศิลปะ
เราอาจแบ่งประเภทของงานศิลปะตามหลักการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ได้เป็น 2 ประเภทคือ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
1. วิจิตรศิลป์ (Fine Arts) คือศิลปะที่งดงาม หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยตอบสนองความต้องการทางด้านจิตใจและอารมณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย 6 สาขา คือ
1.1 จิตรกรรม
 
1.2 ประติมากรม


1.3 สถาปัตยกรรม


1.4 วรรณกรรม


1.5 ดุริยางศิลป์ หรือ ดนตรี


1.6 นาฏศิลป์ การละคร การเต้นรำ ภาพยนตร์
2. ประยุกต์ศิลป์ (AppliedArts) คือศิลปะที่สร้างขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ทางการใช้ สอยเช่น ออกแบบนิเทศศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ มัณฑนศิลป์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ ออกแบบเครื่องประดับ เป็นต้น

สรุป
ศิลปะ เป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวมนุษย์เป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาลทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ ศิลปะที่ให้คุณค่าทางร่างกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิต ประจำวันของมุนษย์เป็นสิ่งที่มนุษย์พบเห็นเข้าใจและเห็นคุณค่าคุณประโยชน์ ได้อย่างเป็นรูปธรรม แต่ศิลปะที่ให้คุณค่าทางจิตใจเป็นงานศิลปะที่มีคุณค่าในการพัฒนา มนุษย์ให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมี ความสุข 
จิตรกรรม ( Painting)  

   เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาด และระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้ เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
  องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
    1. ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
    2. วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ ผ้า ผนัง ฯลฯ
    3. สี เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
   งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด ผู้สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรียนว่า จิตรกร(Painter)

 
 
จิตรกรรม ( Painting)  
งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
 1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป แปลก กิจเฟื่องฟู 2539บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
 
 2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น
 
จิตรกรรม ( Painting)
ลักษณะของภาพจิตรกรรม
งานจิตรกรรม ที่นิยมสร้างสรรค์ ขึ้นมีหลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1.ภาพหุ่นนิ่ง (Silllife)เป็นภาพวาดเกี่ยวกับสิ่งของเครื่องใช้ หรือ วัสดุต่าง ๆ ที่ไม่มีการ เคลื่อนไหว เป็นสิ่งที่อยู่กับที่

2.ภาพคนทั่วไป แบ่งได้ 2ชนิด คือ
  2.1 ภาพคน (Figure)เป็นภาพที่แสดงกิริยาท่าทางต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยไม่เน้นแสดงความ เหมือนของใบหน้า
  2.2 ภาพคนเหมือน (Potrait)เป็นภาพที่แสดงความเหมือนของใบหน้า ของคน ๆ ใดคนหนึ่ง

3.ภาพสัตว์ (Animals Figure) แสดงกิริยาท่าทางของสัตว์ทั้งหลาย ในลักษณะต่างๆ
4.ภาพทิวทัศน์ (Landscape) เป็นภาพที่แสดงความงาม หรือความประทับใจในความงาม ของ ธรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อม ของศิลปินผู้วาด ภาพทิวทัศน์ยังแบ่งเป็นลักษณะต่าง ๆ ได้อีก คือ
   4.1 ภาพทิวทัศน์ผืนน้ำ หรือ ทะเล (Seascape )
   4.2 ภาพทิวทัศน์พื้นดิน (Landscape)
   4.3 ภาพทิวทัศน์ของชุมชนหรือเมือง (Cityscape)

5.ภาพประกอบเรื่อง (Illustration)เป็นภาพที่เขียนขึ้นเพื่อบอกเล่าเรื่องราว หรือถ่ายทอดเหตุการณ์ ต่าง ๆ ให้ผู้อื่นได้รับรู้ โดยอาจเป็นทั้งภาพประกอบเรื่องในหนังสือ พระคัมภีร์ หรือภาพเขียนบนฝาผนัง อาคาร สถาปัตยกรรมต่าง ๆ และรวมถึงภาพโฆษณาต่าง ๆ ด้วย
6. ภาพองค์ประกอบ (Composition)เป็นภาพที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของศิลปะ และ ลักษณะในการจัดองค์ประกอบ เพื่อให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง โดยที่อาจไม่เน้น แสดงเนื้อหาเรื่องราวของภาพ หรือ แสดงเรื่องราวที่มาจากความประทับใจ โดยไม่ยึดติดกับความเป็นจริง ตามธรรมชาตินาๆ ชนิดนี้ ปรากฏมากในงานจิตรกรรมสมัยใหม่



7.ภาพลวดลายตกแต่ง (Decorative painting) เป็นภาพวาดลวดลายประกอบเพื่อตกแต่งสิ่งต่าง ๆ ให้ เกิดความสวยงามมากขึ้น เช่น การวาดลวดลายประดับอาคาร สิ่งของเครื่องใช้ ลวดลายสัก ฯลฯ

ประติมากรรม (Sculpture)
 เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูป ทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ
 1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น 

 2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น 



 
 3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา
 4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่า ประติมากร

ประติมากรรม (Sculpture)
 1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด
2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ
3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ
 
สถาปัตยกรรม (Architecture)
  เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน


 

สถาปัตยกรรม (Architecture)
สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)
 

วรรณกรรม (Literature)
 เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจ ระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

 ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษา ขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ สวยงามได้ ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทาง การใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)
  
วรรณกรรม (Literature)
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ
1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งานมของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย


การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )
  การพิมพ์ภาพ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากแม่พิมพ์ออกมาเป็นผลงานที่มีลักษณะ เหมือนกันกับแม่พิมพ์ทุกประการ และได้ภาพที่เหมือนกันมีจำนวนตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
 
การพิมพ์ภาพเป็นงานที่พัฒนาต่อเนื่องมาจาก การวาดภาพ ซึ่งการวาดภาพไม่สามารถ สร้างผลงาน 2 ชิ้น ที่มีลักษณะเหมือนกันทุกประการได้ จึงมีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นมา ชาติจีน ถือว่าเป็นชาติแรกที่นำเอาวิธีการพิมพ์มาใช้อย่างแพร่หลายมานานนับพันปี จากนั้น จึงได้แพร่หลายออกไปในภูมิภาคต่างๆของโลก ชนชาติทางตะวันตกได้พัฒนาการพิมพ์ภาพ ขึ้นมาอย่างมากมาย มีการนำเอาเครื่องจักรกลต่างๆเข้ามาใช้ในการพิมพ์ ทำให้การพิมพ์มีการ พัฒนาไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
การพิมพ์ภาพมีองค์ประกอบที่สำคัญดังนี้
1. แม่พิมพ์ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการพิมพ์
2. วัสดุที่ใช้พิมพ์ลงไป
3. สีที่ใช้ในการพิมพ์
4. ผู้พิมพ์



ผลงานที่ได้จากการพิมพ์ มี 2 ชนิด คือ
1. ภาพพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่เป็นภาพต่างๆ เพื่อความสวยงามหรือบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อาจมีข้อความ ตัวอักษรหรือตัวเลขประกอบหรือไม่มีก็ได้
2. สิ่งพิมพ์ เป็นผลงานพิมพ์ที่ใช้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นตัวอักษร ข้อความ ตัวเลข อาจมี ภาพประกอบหรือไม่มีก็ได้ 


 การพิมพ์ภาพ ( PRINTING )
ประเภทของการพิมพ์ การพิมพ์แบ่งออกได้หลายประเภทตามลักษณะต่าง ดังนี้
1. แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการ พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
      1.1 ศิลปภาพพิมพ์ ( GRAPHIC ART ) เป็นงานพิมพ์ภาพเพื่อให้เกิดความสวยงามเป็น งานวิจิตรศิลป์
      1.2 ออกแบบภาพพิมพ์ ( GRAPHIC DESIGN ) เป็นงานพิมพ์ภาพประโยชน์ใช้สอยนอก เหนือไปจากความสวยงาม ได้แก่ หนังสือต่างๆ บัตรต่างๆ ภาพโฆษณา ปฏิทิน ฯลฯ จัดเป็นงาน ประยุกต์ศิลป์
2. แบ่งตามกรรมวิธีในการพิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
      2.1 ภาพพิมพ์ต้นแบบ ( ORIGINAL PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์และวิธี การพิมพ์ที่ถูก สร้างสรรค์และกำหนดขึ้นโดยศิลปินเจ้าของผลงาน และเจ้าของผลงาน จะต้องลงนามรับรองผลงานทุกชิ้น บอกลำดับที่ในการพิมพ์ เทคนิคการพิมพ์ และ วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ด้วย
      2.2 ภาพพิมพ์จำลองแบบ ( REPRODUCTIVE PRINT ) เป็นผลงานพิมพ์ที่สร้างจากแม่พิมพ์ หรือวิธี การพิมพ์วิธีอื่น ซึ่งไม่ใช่วิธีการเดิมแต่ได้รูปแบบเหมือนเดิม บางกรณีอาจเป็นการ ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น
3. แบ่งตามจำนวนครั้งที่พิมพ์ ได้ 2 ประเภท คือ
      3.1 ภาพพิมพ์ถาวร เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาจากแม่พิมพ์ใดๆ ที่ได้ผลงานออกมามีลักษณะ เหมือนกันทุกประการ ตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไป
      3.2 ภาพพิมพ์ครั้งเดียว เป็นภาพพิมพ์ที่พิมพ์ออกมาได้ผลงานเพียงภาพเดียว ถ้าพิมพ์อีกจะ ได้ผลงานที่ไม่เหมือนเดิม
 
4. แบ่งตามประเภทของแม่พิมพ์ ได้ 4 ประเภท คือ
      4.1 แม่พิมพ์นูน ( RELIEF PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้าที่ทำให้นูน ขึ้นมาของแม่พิมพ์ ภาพที่ได้เกิดจากสีที่ติดอยู่ในส่วนบนนั้น แม่พิมพ์นูนเป็นแม่พิมพ์ ที่ทำขึ้นมาเป็นประเภทแรก ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์แกะไม้ ( WOOD-CUT ) ภาพพิมพ์แกะยาง ( LINO-CUT ) ตรายาง ( RUBBER STAMP ) ภาพพิมพ์จากเศษวัสดุต่างๆ
      4.2 แม่พิมพ์ร่องลึก ( INTAGLIO PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีอยู่ในร่องที่ทำให้ลึกลง ไปของแม่พิมพ์โดยใช้แผ่นโลหะทำเป็นแม่พิมพ์ ( แผ่นโลหะที่นิยมใช้คือแผ่นทองแดง ) และทำให้ลึกลงไปโดยใช้น้ำกรดกัด ซึ่งเรียกว่า ETCHING แม่พิมพ์ร่องลึกนี้พัฒนาขึ้นโดย ชาวตะวันตก สามารถพิมพ์งานที่มีความ ละเอียด คมชัดสูง สมัยก่อนใช้ในการพิมพ์ หนังสือ พระคัมภีร์ แผนที่ เอกสารต่างๆ แสตมป์ ธนบัตร ปัจจุบันใช้ในการพิมพ์งานที่เป็นศิลปะ และธนบัตร
      4.3 แม่พิมพ์พื้นราบ ( PLANER PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีติดอยู่บนผิวหน้า ที่ราบเรียบของแม่พิมพ์ โดยไม่ต้องขุดหรือแกะพื้นผิวลงไป แต่ใช้สารเคมีเข้าช่วย ภาพพิมพ์ ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์หิน ( LITHOGRAPH ) การพิมพ์ออฟเซท ( OFFSET ) ภาพพิมพ์กระดาษ ( PAPER-CUT ) ภาพพิมพ์ครั้งเดียว ( MONOPRINT )
      4.4 แม่พิมพ์ฉลุ ( STENCIL PROCESS ) เป็นการพิมพ์โดยให้สีผ่านทะลุช่องของแม่พิมพ์ลงไป สู่ผลงานที่อยู่ด้านหลัง เป็นการพิมพ์ชนิดเดียวที่ได้รูปที่มีด้านเดียวกันกับแม่พิมพ์ ไม่กลับซ้าย เป็นขวา ภาพพิมพ์ชนิดนี้ได้แก่ ภาพพิมพ์ฉลุ ( STENCIL ) ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม ( SILK SCREEN ) การพิมพ์อัดสำเนา ( RONEO ) เป็นต้น




 ขอขอบคุณ/อ้างอิง ที่มา/http://www.thaigoodview.com/node/15042

ความหมายและคำนิยามของศิลปะ

ความหมายและคำนิยามของศิลปะ
ความหมายของศิลปะ

“ศิลปะ” เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ ทัศนะของนัก ปราชญ์แต่ละคน รวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน หรือแล้วแต่ว่า จะนำศิลปะไปใช้ ในแวดวงที่กว้างขวาง หรือจำกัดอย่างไร แต่จากทัศนะของนักปราชญ์ ทั้งหลายจะ เห็นว่าศิลปะมีคุณลักษณะ ที่เป็นตัวร่วม สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ “การแสดงออก” ไม่ว่าจะเป็น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ประสบการณ์ ความงามการเห็นแจ้ง สัญลักษณ์ ความเป็นเรื่องราวหรือ เหตุการณ์ ก็ล้วนแต่เป็น การแสดงออกโดยมนุษย์เป็นผู้เลือกสรร หรือสร้างสรรค์ขึ้น
คำนิยามของศิลปะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525 ให้นิยามของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงซึ่งอารมณ์ สะเทือนใจ ให้ประจักษ์เห็น

พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2530 นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะ คือ ผลแห่งพลังความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ที่แสดงออก ในรูปลักษณ์ ต่างๆให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพความประทับใจ หรือ ความสะเทือนอารมณ์ ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยม และทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา และกล่าวว่า ศิลปะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ วิจิตรศิลป์ (Fine Art) กับประยุกต์ศิลป์ (Applied Art)

อริสโตเติล (Aristotle) ปราชญ์ในยุคกรีกโบราณ นิยามความหมาย ของศิลปะว่า
ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ

ตอลสตอย (Leo Tolstoi) นักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงชาวรัสเซีย นิยาม ความหมาย ของศิลปะ ว่า
ศิลปะคือการถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์ออกมา

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีรศรี (C. Feroci) ศิลปินชาวอิตาเลียนผู้มาวางรากฐาน การศึกษาศิลปะสมัยใหม่ในประเทศไทย ได้นิยามความหมายของศิลปะว่า
ศิลปะคืองาน อันเป็น ความพากเพียรของมนุษย์ ซึ่งจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยมือและความคิด

ศิลปะ คือ การเลียนแบบธรรมชาติ (Art is the imitation of nature)

การ ตีความจากคำนิยามนี้ “ธรรมชาติ” ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ ให้แก่ ศิลปินในการสร้างงาน คำนิยามนี้ว่าศิลปะคือ การเลียนแบบธรรมชาติ เป็น คำนิยาม ที่ถือกันว่าเก่าแก่ที่สุดซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle 384-322 B.C.) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นผู้ตั้งขึ้น เป็นการชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติอาจเปรียบได้ดังแม่บทสำคัญ ที่มีต่อศิลปะ ด้วยศิลปะ เป็นสิ่งสร้างโดยมนุษย์ และมนุษย์ก็ ถือกำเนิดมาท่ามกลาง ธรรมชาติ อีกทั้งบนเส้นทาง การดำเนินชีวิตมนุษย์ก็ผูกพันธ์อยู่กับธรรมชาติ จนไม่สามารถ แยกออกจากกันไดในทางศิลปะ มิใช่เป็นการบันทึก เลียนแบบเหมือนกระจกเงาหรือ ภาพถ่าย ซึ่งบันทึกสะท้อนทุกส่วน ที่อยู่ตรงหน้า แต่อาจจะเพิ่มเติม ตัดทอน หรืออาจจะใส่อารมณ์ ความรู้สึกเข้าไปด้วย

ศิลปะ คือ การถ่ายทอดความรู้สึกหรือแสดง ความรู้สึก เป็นรูปทรง (Art is the transformation of Feeling into form)

รูป ทรง ในที่นี้ คือว่าเป็นรูปธรรมที่สามารถสัมผัสได้ และตีความหมายได้ ซึ่ง หมายถึง ผลงานศิลปะที่เริ่มมาจาก ความคิดที่เป็นลักษณะ นามธรรมภายในตัวศิลปินเอง ที่คนทั่วไปไม่สามารถสัมผัสได้โดยตรง นอกจากเจ้าของ ความรู้สึกนั้น จะถ่ายทอดหรือสะท้อนออกมาเป็นรูปทรง ที่สัมผัส ได้ ตามความหมายของนิยามนี้ ศิลปะอาจเปรียบ เสมือน สื่อหรือเครื่องมือ ที่ผู้ถ่ายทอดใช้เป็น ตัวกลาง เพื่อโยง ความรู้สึกของตน แสดงให้ผู้อื่นได้รับรู้ หรือเข้าใจ ในสิ่งที่ ต้องการแสดง หรืออาจกล่าวได้ว่า “เป็นการแปลลักษณะ นามธรรมมาเป็น รูปธรรม”

ศิลปะ คือ สื่อภาษาชนิดหนึ่ง (Art is The Language)

“สื่อ” เป็นตัวกลางที่สามารถชักนำเชื่อมโยงให้ถึงกัน หรือสามารถทำการ ติดต่อกันได้ “ภาษา” หมายถึง เสียงหรือสื่อที่สามารถเข้าใจซึ่งกันและกันได้ สรุป รวม แล้ว ทั้งสื่อและภาษาเป็นพฤติกรรม ที่แสดงออก เพื่อชักนำ เพื่อติดต่อให้ถึงกัน และเมื่อ ตีความหมายของคำนิยามที่ว่า ศิลปะ เป็นสิ่งหรือภาษาได้อย่างไร โดยนำศิลปะไปเปรียบเทียบกับสื่อที่เป็นภาษาพูด และภาษาเขียน ใน”ภาษาพูด” เป็นลักษณะถ่ายทอดโดยใช้สื่อประเภทเสียง เปล่งออกมาเป็นคำ หรือประโยค เพื่อสื่อความหมายในสิ่งที่ผู้พูดต้อง การถ่ายทอดให้ผู้ฟังได้รับรู้ ส่วน“ภาษาเขียน” เป็นลักษณะการ สื่อความหมาย โดยอาศัยสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ฯลฯ เพื่อโยง ให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน


ที่มา www.ccd.ssru.ac.th

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

ประวัติศาสตร์ศิลปะ

ใบความรู้ รายวิชาศิลปะ
เรื่อง ศิลปะยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงศิลปะสมัยใหม่
รวบรวมโดย ครูเผชิญ  สร้อยศิลา  กลุ่มสาระศิลปะ  โรงเรียนโพธิ์ทองพิทยาคม  อบจ.ร้อยเอ็ด
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปะวัติศาสตร์ศิลป์
ประวัติศาสตร์ศิลป์แยกได้เป็น 2 คำ คือ ประวัติศาสตร์ (History) และศิลป์ (Art) ประวัติศาสตร์ (History) หมายถึง วิชาว่าด้วยความเป็นมาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน
               ศิลป์ (Art) มีความหมายกว้างขวางตามแนว และทัศนะของนักปรัชญาของแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่จะอย่างไรก็ตามเราพอจะสรุปความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ คือ ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและความงาม
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์
               ประวัติศาสตร์ศิลป์บอกให้เราทราบถึงการสร้างสรรค์ และวิวัฒนาการศิลปะของมนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน เราได้ศึกษาแบบอย่างงานศิลปะ ความเคลื่อนไหว ความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ ความเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรมของแต่ละยุค เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา นำไปสู่การยกระดับคุณภาพของงานศิลปะในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของงานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษย์ทั้งโลก
ศิลปะตะวันตก
   ศิลปะตะวันตก หมายถึง ศิลปกรรมของกลุ่มประเทศในยุโรป (ปัจจุบันรวมถึงสหรัฐอเมริกาด้วย) มีรากฐานมาจากศิลปะของอียิปต์ และกรีก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมยุคโบราณของโลก และพัฒนาขึ้นมาภายใต้อิทธิพลของคริสต์ศาสนา เป็นต้นแบบของศิลปะสากลในปัจจุบัน
   ประวัติศาสตร์ของยุโรปแบ่งอย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 4 ยุค คือ
1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic)
2. ยุคโบราณ (Ancient Age)
3. ยุคกลาง (Middle Age)
4. ยุคใหม่ (Modern Age)

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) ประมาณ 40,000 ปี – 4,000 ปี ก่อน ค.ศ.
ศิลปะอียิปต์ (Egyptian Art)
เรื่องราวอารยธรรมของอียิปต์ เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อน ค.ศ. เป็นยุคก่อน ประวัติศาสตร์ และก่อนราชวงศ์ (Pre-dynastic) ของอียิปต์ ชาวอียิปต์ได้สร้างศิลปวัฒนธรรมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาในด้านคุณธรรม และตอบสนองความเชื่อว่าวิญญาณของคนตายจะกลับคืนสู่ร่างกายใหม่ จึงเป็นมูลเหตุของการทำมัมมี่ (mummy) หีบบรรจุศพทำด้วยหิน สร้างอาคารรูปทรงพีระมิด (Pyramids) ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุด อยู่ที่เมืองกีซา ในกรุงไคโร ภายในพีระมิดเป็นที่บรรจุพระศพกษัตริย์คูฟู (Khufu) ฐานพีระมิดยาวด้านละ 756 ฟุต สูง 481 ฟุต กินเนื้อที่ 32 ไร่ สร้างด้วยหินนักกว่าก้อนละ 2 ตัน จำนวน 2,500,000 ก้อนประมาณว่าใช้กำลังคน1,000,000 คน ผลัดกันสร้างทั้งกลางวัน และกลางคืน ใช้เวลาราว 20 ปี จึงเสร็จ ภายในห้องพีระมิด นอกจากจะบรรจุพระศพของกษัตริย์แล้ว ยังเป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติอันมีค่า ผนังภายในตกแต่งด้วยภาพเขียนสี บรรยายด้วยอักษรโบราณ ทำให้ทราบถึงชีวิตความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวอียิปต์ชาวอียปต์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
2. ยุคโบราณ (Ancient Age) ประมาณ 1,400 ปี ก่อน ค.ศ. ค.ศ. 100
ศิลปะตะวันออกใกล้ (Ancient Near Eastem Aft)
อียิปต์พัฒนาอารยธรรมเจริญรุ่งเรื่องสุดขีดในลุ่มแม่น้ำไนล์ ส่วนทางฝั่งตะวันออกของทะเล เมดิเตอร์เรเนียน ดินแดนแถบแม่น้ำไทกรีส และยูเฟรทีส ได้แก่ดินแดนบางส่วนของประเทศอิหร่าน ซีเรีย จอร์แดน และซาอุดีอาระเบียในปัจจุบัน เรียกว่าแคว้นเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) หมายถึงดินแดนในลุ่มแม่น้ำสองสาย ชนชาติดังกล่าวมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองเช่นเดียวกัน ประเทศที่อยู่ในวัฒนธรรมนี้ได้แก่ สุเมเรียน บาบิโลเนียน อัสซิเรียน เปอร์เซีย
                ลักษณะศิลปกรรมของสุเมเรียนมีความแตกต่างจากศิลปกรรมอียิปต์ คือ อียิปต์ใช้หินเป็นวัสดุก่อสร้าง ส่วนสุเมเรียนใช้อิฐเผาก้อนใหญ่ ๆ มาเรียงกัน ดังนั้นสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่จึงมีอิฐเป็นโครงสร้างหลัก สถาปัตยกรรมของสุเมเรียนที่รู้จักกันมากที่สุดคือวิหารใหญ่เรียกว่า ซิกูรัต (Zigurat) เป็นหอสูงแบบตึกระฟ้า มีทางเดินเป็นบันไดวน เป็นสถานที่สำหรับทำพิธีทางศาสนา

ศิลปะบาบิโลน อยู่ช่วง 700 ปี ก่อน ค.ศ.
มีสิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงมาก และเป็นที่รู้จักโดยทั่วไปคือสวนลอยแห่งบาบิโลน โดยสร้างสวนให้สูงจากพื้นดิน ใช้อิฐซ้อนกันขึ้นไป วางผังลดหลั่นกันและมีความสลับซับซ้อน ตามซุ้มประตูต่าง ๆ ประดับด้วย ภาพสลักขนาดมหึมา ปัจจุบันสวนแห่งนี้ถูกทับถมปรักหักพังไปหมดแล้ว เหลือเฉพาะฐานรากบางส่วนเท่านั้น
ศิลปะอัสซิเรียน อยู่ในช่วง 900 ปี ก่อน ค.ศ.
ศิลปกรรมงานแกะสลักที่มีชื่อเสียง เป็นรูปสิงโตกำลังกัดเด็กหนุ่มพบในพระราชวังเมืองนิมรุดในอัสซิเรีย งานชิ้นนี้ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริติซกรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ประติมากรรมลอยตัวชิ้นสำคัญที่ติดตั้งตามทางเข้าพระราชวังมีขนาดใหญ่โต เป็นรูปสิงโตมีปีก (Winged Lion) ส่วนงานสถาปัตยกรรมของอัสซิเรียน มีอาคารก่ออิฐเป็นโครงสร้างหลัก เป็นรูปโค้งรับน้ำหนักและใช้อิฐและหินก่อเป็นกำแพง ตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง และกระเบื้องเคลือบเป็นรูปสิงโต
ศิลปะเปอร์เซีย อยู่ในช่วง 1,000 ปีก่อน ค.ศ.
อารยธรรมของเปอร์เซียมีชื่อเสียงโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรมที่มีการตกแต่งภายในอย่างสวยงาม มีงานประติมากรรมใช้ในการตกแต่งสถาปัตยกรรม ได้แก่ เสาหินวัวคู่ ประดับพระราชวังที่เมืองเปอร์เซโปลิส (Persepolis)
ศิลปะกรีก (Greek Art)
ชาวกรีกเป็นมนุษย์เผ่าพันธุ์อินโด-ยูโรเปียนที่อพยพเคลื่อนย้ายลงสู่แหลมบอลข่าน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ จนกระทั่ง 2,000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงได้ตั้งหลักที่เป็นประเทศกรีซในปัจจุบัน ประกอบด้วย 2 รัฐใหญ่ที่สำคัญคือเอเธนส์ และสปาตา ชาวกรีกมีการศึกษาศิลปวิทยาจนมีความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์ อักษรศาสตร์ ปรัชญา และการปกครอง ศิลปกรรมกรีกมีความเจริญสูงสุด เป็นแบบฉบับในทางศิลปะของมนุษยชาติตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน
               ศิลปกรรมของกรีกที่สำคัญได้แก่ งานสถาปัตยกรรม อาทิ วิหาร สนามกีฬา หอประชุม และสถานที่แสดงอุปรากร วิหารที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิหารพาร์เธนอน (Parthenon) สร้างด้วยหินอ่อนสีขาว มีความงดงามมากแม้จะสร้างมาแล้วเป็นเวลานานกว่า 2,000 ปี ก็ไม่มีที่ติว่าควรจะ  แก้ไขข้อบกพร่องส่วนใดส่วนหนึ่งของวิหารพาร์เธนอน ภายในวิหารตกแต่งด้วยภาพแกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม

งานสถาปัตยกรรมกรีกแบ่งตามลักษณะหัวเสา 3 แบบใหญ่ ๆ คือ 1. แบบดอริก (Doric) 2. แบบไอโอนิก (Ionic) 3. แบบคอรินเทียน (Corinthian)

งานทางด้านประติมากรรมของกรีก นิยมสร้างสรรค์แนวเหมือนจริง (Realistic) โดยเฉพาะสรีระของคนเรา ชาวกรีกถือว่ามีความงดงามยิ่ง ชาวกรีกจึงนิยมปั้นและแกะสลักรูปคนเปลือยกายไว้มากมาย งานประติมากรรมลอยตัวที่มีชื่อเสียง ได้แก่ เทพธิดาวีนัส (Venus) รูปเทพเจ้าอพอลโล (Apollo) รูปนักกีฬาไมรอน (Myron) ประติมากรรมโลหะสัมฤทธิ์รูปเด็กหนุ่ม เป็นรูปเปลือยที่มีส่วนสัดของร่างกาย ตลอดจนการจัดวางท่วงท่าได้อย่างงดงาม
ศิลปะโรมัน (Roman Art)
                ศิลปะโรมันส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากกรีก ซึ่งมีองค์ประกอบที่ประณีต งดงาม แต่ศิลปะของโรมันเน้นความใหญ่โตมโหฬาร มีความหรูหรา สง่างาม มั่นคงแข็งแรง สถาปัตยกรรมโรมันมีชื่อเสียงมาก โรมันเป็นชาติแรกที่คิดค้นสร้างคอนกรีตได้ สามารถใช้คอนกรีตหล่อขึ้นเป็นโครงสร้างรูปโดมช่วยทำให้การก่อสร้างอาคารมีขนาดใหญ่ขึ้น สถาปัตยกรรมของโรมันที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารแพนเธออน (Pantheon) โคลอสเซียม (Colosseum) เป็นสนามกีฬารูปกลมรีขนาดใหญ่มหึมาสามารถจุคนดูได้ถึง 50,000 คน นอกจากงานสถาปัตยกรรมดังกล่าวแล้ว ชาวโรมันยังสร้างสะพานโค้งข้ามแม่น้ำและส่งน้ำข้ามหุบเขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก คือ ประตูชัย (Arch of Triumph) สร้างขึ้นเพื่อสรรเสริญ และฉลองชัยของทหารโรมัน โดยสร้างเป็นประตูโค้งขนาดใหญ่สำหรับให้ทหารเดินทัพผ่านเมื่อออกสงครามหรือภายหลังได้รับชัยชนะ ประดับด้วยภาพประติมากรรมนูนสูงอย่างสง่างาม
               งานประติมากรรมของโรมันมีไม่มาก ส่วนใหญ่ขนย้ายมาจากกรีก มีการสร้างสรรค์ขึ้นเองบ้างแต่เป็นส่วนน้อยนอกนั้นทำเลียนแบบกรีกทั้งหมด ผลงานที่พบในกรุงโรมได้แก่ ภาพเลาคูนกับบุตรชายกำลังถูกงูกัด เป็นผลงานที่นำมาจากกรีก นอกนั้นได้แก่ภาพประติมากรรมของบุคคลสำคัญในยุคนั้น เช่น รูปจูเลียสซีซาร์ รูปจักรพรรดิออกัสตัส รูปจักรพรรดิคาราคัลลา   รูปจักรพรรดิเนโร เป็นต้น
               งานจิตรกรรมของโรมัน มีการค้นพบภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังที่ยังอยู่ในสภาพดีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นภาพที่แสดงถึงเรื่องราวในชีวิตประจำวันของชาวโรมันนอกนั้นเป็นภาพในเทพนิยาย เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ลักษณะของภาพยังมีความงามที่สมบูรณ์ เป็นภาพเขียนสีและประดับด้วยหินสี (Mosaic) อย่างประณีต สวยงาม
ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ประมาณ ค.ศ. 455
               ศิลปะไบแซนไทน์เป็นศิลปะที่มีลักษณะเชื่อมโยงความคิด และรูปแบบระหว่างตะวันตกกับตะวันออกเข้าด้วยกัน มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ศิลปะมีลักษณะใหญ่โต คงทนถาวร ประดับตกแต่งด้วยการใช้พื้นผิว (Texture) อย่างหลากหลาย  งานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นที่สุดของไบแซนไทน์ คือการทำหลังคาเป็นรูปกลม (Cupula) ต่างจากหลังคาของศิลปะโรมัน ที่ทำเป็นรูปโค้ง (Arch) หลังคากลมแบบไบแซนไทน์ ภายนอกเรียกว่าโดม (Dome) หลังคากลมช่วยให้สามารถสร้างอาคารได้ใหญ่โตมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นแบบฉบับของศิลปะดังกล่าว ได้แก่ โบสถ์เซนต์โซเฟีย ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โบสถ์เซนต์มาร์โค ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี
3. ยุคกลาง (Middle Age) ประมาณ ค.ศ. 300 – ค.ศ. 1300
ความเจริญทางด้านศิลปะในยุคกลาง เป็นการสร้างสรรค์โดยวัดและคริสต์ศาสนิกชน ซึ่งมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและศิลปวิทยา ศิลปะของคริสต์ศาสนาจึงเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะสิ่งก่อสร้างที่เกี่ยวกับวัดคาทอลิก มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น แต่ส่วนใหญ่สิ่งก่อสร้างจะมีขนาดเล็กลง นิยมสร้างด้วยหินและปูผิวด้วยอิฐ สร้างสุสานด้วยการเจาะหินหน้าผา  กลุ่มศิลปะที่อยู่ในยุคกลางได้แก่ ศิลปะโกติก สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะบารอก และรอกโกโก
ศิลปะโกติก (Gothic Art)
               ศิลปะโกติกนิยมแสดงเรื่องราวทางศาสนาในแนวเหมือนจริง (Realistic Art) ไม่ใช้สัญลักษณ์เหมือนศิลปะยุคก่อน งานสถาปัตยกรรมมีโครงสร้างทรงสูง มียอดหอคอยรูปทรงแหลมอยู่ข้างบน ทำให้ตัวอาคารมีรูปร่างสูงระหงขึ้นสู่เพดาน ซุ้มประตู หน้าต่าง ช่องลม มีส่วนโค้งแปลกกว่าศิลปะแบบใด ๆ
ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance Art)
                สงครามครูเสดนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่ยุโรปตะวันตกอย่างใหญ่หลวง ระบอบการปกครองแบบศักดินาหมดสิ้นไป แว่นแคว้นต่าง ๆ เริ่มมีความเป็นอิสระ ศิลปินได้นำเอาแบบอย่างศิลปะชั้นสูงในสมัยกรีกและโรมัน มาสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระเต็มที่ งานสถาปัตยกรรมมีการก่อสร้างแบบกรีกและโรมันเป็นจำนวนมาก ลักษณะอาคารมีประตูหน้าต่างเพิ่มมากขึ้น ประดับตกแต่งภายในด้วยภาพจิตรกรรมและประติมากรรมอย่างหรูหรา สง่างาม งานสถาปัตยกรรมที่      ยิ่งใหญ่ในสมัยนั้นฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้แก่ มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter) ในกรุงโรม เป็น ศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาโรมันคาทอลิก วิหารนี้มีศิลปินผู้ออกแบบควบคุมงานก่อสร้างและลงมือตกแต่งด้วยตนเอง ต่อเนื่องกันหลายคน เช่น โดนาโต บรามันโต (Donato Bramante ค.ศ. 1440 – 1514) ราฟาเอล (Raphel ค.ศง 1483 – 1520) ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo ค.ศ. 1475 – 1564) และโจวันนิ เบอร์นินี (Giovanni Bernini ค.ศ. 1598 – 1680)
               งานจิตรกรรมและประติมากรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปินสร้างสรรค์ในรูปความงามตามธรรมชาติ และความงามที่เป็นศิลปะแบบคลาสสิกที่เจริญสูงสุด ซึ่งพัฒนาแบบใหม่จากศิลปะกรีกและโรมัน ความสำคัญของศิลปะสมัยฟื้นฟู มีความสำคัญต่อการสร้างสรรค์ศิลปะเกือบทุกสาขา โดยเฉพาะเทคนิคการเขียนภาพ การใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (Composition) หลักกายวิภาค (Anatomy) การเขียนภาพทัศนียวิทยา (Perspective Drawing) การแสดงออกทางศิลปะมีความสำคัญในการพัฒนาชีวิต สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม จัดองค์ประกอบภาพให้มีความงาม มีความเป็นมิติ มีความสัมพันธ์กับการมองเห็น ใช้เทคนิคการเน้นแสงเงาให้เกิดดุลยภาพ มีระยะตื้นลึก ตัดกันและความกลมกลืน เน้นรายละเอียดได้อย่างสวยงาม ศิลปินที่สำคัญในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่สร้างสรรค์งานไว้เป็นอมตะเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก  ได้แก่ เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ผู้เป็นอัจริยะทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ แพทย์ กวี ดนตรี จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ผลงานที่มีชื่อเสียงของดาวินชี ได้แก่ ภาพอาหารมื้อสุดท้ายของพระเยซู (The last Supper) ภาพพระแม่บนก้อนหิน (The Virgin on the Rock) ภาพพระแม่กับเซนต์แอน (The Virgin and St. Anne) และภาพหญิงสาวผู้มีรอยยิ้มอันลึกลับ (mystic smile) ที่โด่งดังไปทั่วโลก คือ ภาพโมนาลิซา (Mona Lisa)
               ไมเคิล แองเจลโล (Michel Angelo) เป็นศิลปินผู้มีความสามารถ และรอบรู้ในวิทยาการแทบทุกแขนง โดยเฉพาะรอบรู้ในด้านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม เป็นสถาปนิกผู้ร่วมออกแบบและควบคุมการก่อสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ งานประติมากรรมสลักหินอ่อนที่มีชื่อเสียงและเป็นผลงานชิ้นเอก ได้แก รูปโมเสส (Moses) ผู้รับบัญญัติสิบประการจากพระเจ้า รูปเดวิด (David) หนุ่มผู้มีเรือนร่างที่งดงาม รูปพิเอตตา (Pietta) แม่พระอุ้มศพพระเยซูอยู่บนตัก ภาพเขียนของไมเคิล แองเจลโลชิ้นสำคัญที่สุด เป็นภาพบนเพดานและฝาฝนังของโบสถ์ซิสติน (Sistine) ในพระราชวังวาติกัน ประเทศอิตาลีในปัจจุบัน
               ราฟาเอล (Raphael) เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และตกแต่งมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ มีผลงานจิตรกรรมที่สำคัญเป็นจำนวนมาก ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป ได้แก่ ภาพพระแม่อุ้มพระเยซู (Sistine Madonna) ภาพงานรื่นเริงของทวยเทพ (Galatea)  ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาแพร่หลายออกไปจากประเทศอิตาลีสู่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปตะวันตกอย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อศิลปะในประเทศนั้น ๆ อย่างมากมาย ทำให้เกิดสกุลศิลปะ และศิลปินที่สำคัญในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นจำนวนมาก ผลงานอันยิ่งใหญ่เหล่านี้ เรากล่าวได้ว่ามนุษยชาติเป็นหนี้บุญคุณบรรพชนแห่งสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอยู่จนปัจจุบันนี้
ศิลปะบารอกและรอกโกโก (Baroque and Rococo Art)
คำว่า Baroque และ Rococo ในปัจจุบัน หมายถึง สิ่งที่มีการตกแต่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ วิจิตรพิสดารจนเกินงาม เป็นศิลปะตอนปลายสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเชื่อมต่อกับศิลปะยุคใหม่ ศิลปะแบบบารอกและรอกโกโก เป็นลักษณะการจัดองค์ประกอบของศิลปะที่เน้นรายละเอียดส่วนย่อยอย่างฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะการใช้ส่วนโค้ง ส่วนเว้า งานจิตรกรรม และประติมากรรม ยังคงเน้นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาติ (Realistic) แต่ใช้สีรุนแรงขึ้น งานสถาปัตยกรรมประกอบด้วยเส้นโค้งมนตกแต่งโครงสร้างเดิม มีลวดลายอ่อนช้อย งดงาม อาคารที่ถือเป็นแบบฉบับของศิลปะบารอก และรอกโกโก ได้แก่ โบสถ์เซนต์แอกเนส (Church of St. Agnese) โบสถ์เซนต์คาร์โล (Church of St. Carlo) ที่กรุงโรม พระราชวังแวร์ซาย (Versailes palace) ในประเทศฝรั่งเศส โบสถ์ทั่วไปในยุโรปตอนเหนือ เช่นในประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศเยอรมนี เป็นต้น
4. ยุคใหม่ (Modern Age) ค.ศ. 1800 - ปัจจุบัน
ศิลปะสมัยใหม่ (Modern Art) เริ่มขึ้นตอนปลายศตวรรษที่ 18 ในประเทศฝรั่งเศส สืบเนื่องจากความเจริญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะอย่างขนานใหญ่ ทั้งรูปแบบและจุดประสงค์ โดยเฉพาะสร้างสรรค์งานจิตรกรรม ศิลปินยุคใหม่ต่างพากันปลีกตัวออกจากการยึดหลักวิชาการ (Academic) ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ที่มีรากฐานมาจากศิลปะกรีกและโรมัน มาใช้ความรู้สึกนึกคิดและความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนอย่างอิสระ แยกศิลปะออกจากศาสนาโดยสิ้นเชิง ศิลปะจึงเป็นเรื่องส่วนตัวของบุคคลอย่างแท้จริง ใช้สิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเต็มที่ จึงทำให้เกิดรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ขึ้นมากมาย ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา ดังจะได้กล่าวพอสังเขปดังนี้
ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)
นีโอคลาสสิกเป็นรูปแบบศิลปะที่อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อระหว่างสมัยใหม่กับสมัยเก่า ภาพเขียนจะสะท้อนเรื่องราวทางอารยธรรม เน้นความสง่างามของรูปร่างทรวดทรงของคนและส่วนประกอบของภาพ มีขนาดใหญ่โต แข็งแรง มั่นคง ใช้สีกลมกลืน มีดุลยภาพของแสง และเงาที่งดงาม

ศิลปินที่สำคัญของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ได้แก่  ชาก – ลุย ดาวิด (ค.ศ. 1748-1825) ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้วางรากฐานของศิลปะแบบนีโอคลาสสิก ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียง เช่น การสาบานของโฮราตี (The Oath of Horatij) การตายของมาราต์ (The Death of Marat) การศึกระหว่างโรมันกับซาไบน์ (Battle of the Roman and Sabines) เป็นต้น
ศิลปะแบบโรแมนติก (Romanticism)
ศิลปะแบบโรแมนติก เป็นศิลปะรอยต่อจากแบบนีโอคลาสสิก แสดงถึงเรื่องราวที่ตื่นเต้น เร้าใจ สะเทือนอารมณ์แก่ผู้พบเห็น ศิลปินโรแมนติกมีความเชื่อว่าศิลปะจะสร้างสรรค์ตัวของมันเองขึ้นได้ด้วยคุณค่าทางอารมณ์ของผู้ดูและผู้สร้างสรรค์  ศิลปินที่สำคัญของศิลปะโรแมนติก ได้แก่ เจริโคต์ (Gericault) ผลงานจิตรกรรมที่มีชื่อเสียงมาก คือ การอับปางของเรือเมดูซา (Raft of the Medusa)  เดอลาครัว (Delacroix) ชอบเขียนภาพที่แสดงความตื่นเต้น เช่น ภาพการประหารที่  ทิชิโอ ความตายของชาดาร์นาปาล การฉุดคร่าของนางรีเบกกา เป็นต้น  ฟรานซิสโก โกยา (Francisco Goya) ชอบเขียนภาพแสดงการทรมาน การฆ่ากันในสงคราม คนบ้า ตลอดจนภาพเปลือย เช่น ภาพเปลือยของมายา (Maya the nude) เป็นต้น
ศิลปะแบบเรียลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้  ได้แก่  โดเมียร์ (Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม  มาเนต์ (Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคมเช่นการประกอบอาชีพ
ศิลปะแบบอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)
กลุ่มศิลปินอิมเพรสชันนิสม์เริ่มเบื่อรูปแบบที่มีหลักความงามแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ เปลี่ยนเป็นสิ่งเชื่อมโยง เน้นด้วยแสง สี บรรยากาศ ศิลปินที่สำคัญของกลุ่มอิมเพรสชันนิสม์ ได้แก่    โคลด โมเนต์ (Claude Monet)    ซิสเลย์ (Sisley)  เดอกาส์ (Degas    ปิซาโร (Pissaro  มาเนต์ (Manet)  เรอนัว (Renoir)


ศิลปะแบบโพสต์ – อิมเพรสชันมิสม์ (Post-Impressionism)
ศิลปะแบบโพสต์-อิมเพรสชันนิสม์จะไม่เลียนแบบจากสิ่งที่เป็นจริงโดยการสร้างรูปทรงใหม่ แต่นำวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เช่น การระบายสีด้วยเทคนิคขีด ๆ จุด ๆ เน้นสี แสง เงาให้เกิดมิติ บรรยากาศ ความงามและความประทับใจ ศิลปินในกลุ่มนี้ ได้แก่   แวนโกะห์ (Van Gogh)  มาติส (Matisse)  บงนาร์ด (Bonnard   เซซาน (Cezanne)   โกแกง (Gauguin)   เซอราต์ (Seurat)
ศิลปะสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 20
ลัทธิโฟวิสซึม เป็นศิลปะที่แสดงออกในเรื่องสีที่สดใสรุนแรงศิลปินที่สำคัญในลัทธินี้      ได้แก่ อองรี มาติส
ศิลปะนามธรรม เป็นศิลปะที่ไม่แสดงรูปทรงเหมือนจริง แต่แสดงเรื่องสีและพลังทางอารมณ์และความรู้สึก
ศิลปะคิวบิสม์ เป็นศิลปะกึ่งนามธรรม แสดงออกด้วยการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันของปริมาตร มีความงามตามหลักของสุนทรียศาสตร์อย่างแท้จริง ศิลปินผู้นำศิลปะคิวบิสม์ ได้แก่ปิกาสโซ

ที่มา: http://www.artmwk.50g.com/noname1.htm  22 กรกฎาคม 2552


ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art  
ศิลปะยุคโบราณ(Pre-historic Art)
 ประวัติศาสตร์ศิลป์ยุคก่อนประวัติศาสตร์


     งานศิลปะได้เริ่มมีการสร้างกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ ยุคหินเก่าตอนปลาย ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 30,000-10,000 ปีมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 15,000- 10,000 มานั้น มนุษย์ได้เขียนภาพสี และขูดขีดบนผนังถ้ำและเพิงผา เป็นภาพสัตว์ การล่า สัตว์และภาพลวดลายเรขาคณิต โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงออกเกี่ยวกับวิถีชีวิตประจำวัน และแสดงความสามารถในการล่าสัตว์ ภาพเหล่านี้มักระบายด้วยถ่านไม้ และสีที่ผสมกับ ไขมันสัตว์ พบได้ทั่วไปในประเทศฝรั่งเศส และภาคเหนือของสเปน ที่มีชื่อเสียงมากได้แก่ ถ้ำลาสโกซ์ในฝรั่งเศส ถ้ำอัลตามิราในสเปน งานศิลปะในยุคเก่าไม่มีเพียงแต่การเขียน ภาพเท่านั้น ยังมีการปั้นรูปด้วยดินเหนียว หรือแกะสลักบนกระดูก เขาสัตว์ และงาช้าง ด้วย เรื่องราวที่นิยมทำกันได้แก่เรื่อง การล่าสัตว์ หรือบางก็มีรูปคน เป็นรูปสตรี ซึ่งอาจมี ความหมายถึง การให้กำเนิดเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับชนเผ่า
 

ศิลปะยุคอียิปต์ (Egypt Art)
ศิลปะอียิปต์ ( 2650 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ. 510)

ชาว อียิปต์มีศาสนาและพิธีกรรมอันซับซ้อน แทรกซึมอยู่เป็นวัฒนธรรมอยู่ในสังคมเป็นเวลานาน มีการนับถือเทพเจ้าที่มีลักษณะอันหลากหลาย ดังนั้น งานจิตรกรรม ประติมากรรม และ สถาปัตยกรรมส่วนมาจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนา พิธีกรรม โดยเฉพาะพิธีฝังศพ ซึ่งมีความเชื่อว่าเมื่อตายแล้วจะยังมีชีวิตอยู่ในโลกใหม่ได้อีก จึงมีการรักษาศพไว้อย่างดี และนำสิ่งของเครื่องใช้ที่มีค่าของผู้ตายบรรจุตามลงไปด้วย ลักษณะงานจิตรกรรมของอียิปต์ เป็นภาพที่เขียนไว้บนฝาผนังสุสานและวิหารต่าง ๆ สีที่ใช้เขียนภาพทำจากวัสดุทางธรรมชาติ ได้แก่เขม่าไฟ สารประกอบทองแดง หรือสีจากดินแล้วนำมาผสมกับน้ำและยางไม้ ลักษณะของงานจิตรกรรมเป็นงานที่เน้นให้เห็นรูปร่างแบน ๆ มีเส้นรอบนอกที่คมชัด จัดท่าทางของคนแสดงอิริยาบถต่าง ๆ ในรูปสัญลักษณ์มากว่าแสดงความเหมือนจริงตามธรรมชาติ มักเขียนอักษรภาพลงในช่องว่างระหว่างรูปด้วย และเน้นสัดส่วนของสิ่งสำคัญในภาพให้ใหญ่โตกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ เช่นภาพของกษัตริย์หรือฟาโรห์จะมีขนาดใหญ่กว่ามเหสี และคนทั้งหลาย นิยมระบายสีสดใสบนพื้นหลังสีขาว ลักษณะงานประติมากรรมของอียิปต์ จะมีลักษณะเด่นกว่างานจิตรกรรม มีตั้งแต่รูปแกะสลักขนาดมหึมาไปจนถึงผลงานอันประณีตบอบบางของพวกช่างทอง ชาวอิยิปต์นิยมสร้างรูปสลัก ประติมากรรมจากหินชนิดต่าง ๆ เช่น หินแกรนิต หินดิโอไรด์ และหินบะซอลท์ หรือบางทีก็เป็นหินอะลาบาสเตอร์ ซึ่งเป็นหินเนื้ออ่อนสีขาว ถ้าเป็นประติมากรรมขนาดใหญ่ก็มักเป็นหินทราย นอกจากนี้ยังมีทำจากหินปูน และไม้ซึ่งมักจะพอกด้วยปูนและระบายสีด้วย งานประติมากรรมขนาดเล็ก มักจะทำจากวัสดุมีค่า เช่น ทองคำ เงิน อิเลคตรัม หินลาปิสลาซูลี เซรามิค ฯลฯ ประติมากรรมของอียิปต์มีทั้งแบบนูนต่ำ แบบลอยตัว แบบนูนต่ำมักจะแกะสลักลวดลายภาพบนผนัง บนเสาวิหาร และประกอบรูปลอยตัว ประติมากรรมแบบลอยตัวมักทำเป็น รูปเทพเจ้า หรือรูปฟาโรห์ที่มีลักษณะคล้ายกับเทพเจ้า นอกจากนี้ยังทำเป็นรูปข้าทาสบริวาร สัตว์เลี้ยง และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบในพิธีศพอีกด้วย ลักษณะสถาปัตยกรรมอียิปต์ใช้ระบบโครงสร้างเป็นเสาและคาน แสดงรูปทรงที่เรียบง่ายและแข็งทื่อ ขนาดช่องว่างภายในมีเล็กน้อยและต่อเนื่องกันโดยตลอด สถาปัตยกรรมสำคัญของชาวอียิปต์ได้แก่ สุสานที่ฝังศพ ซึ่งมีตั้งแต่ของประชาชนธรรมดาไปจนถึงกษัตริย์ ซึ่งจะมีความวิจิตร พิสดาร ใหญ่โตไปตามฐานะ และอำนาจ ลักษณะของการสร้างสุสานที่เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญแห่งยุคก็คือ ปิรามิด ปิรามิดในยุคแรกเป็นแบบขั้นบันได หรือเรียกว่า มัสตาบา ต่อมามีการพัฒนารูปแบบวิธีการก่อสร้างจนเป็นรูปปิรามิดที่เห็นในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการสร้างวิหารเทพเจ้าเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมของนักบวช และวิหารพิธีศพ เพื่อใช้ประกอบพิธีศพ ในสมัยอาณาจักรใหม่ (1020 ปีก่อน พ.ศ - พ.ศ.510) วิหารเหล่านี้มีขนาดใหญ่โต และสวยงาม ทำจากอิฐและหิน ซึ่งนำรูปแบบวิหารมากจากสมัยอาณาจักรกลางที่เจาะเข้าไปในหน้าผา บริเวณหุบผากษัตริย์ และหุบผาราชินี ซึ่งเป็นบริเวณที่มีสุสาน    
กษัตริย์และราชินีฝังอยู่เป็นจำนวนมาก

ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art
ศิลปะยุคกรีก (Greece Art)
ศิลปะกรีก (500 ปีก่อน พ.ศ. - พ.ศ.440)
 
ชาวกรีกมีความเชื่อว่า "มนุษย์เป็นมาตรวัดสรรพสิ่ง" ซึ่งความเชื่อนี้เป็นรากฐานทางวัฒนธรรมของชาวกรีก เทพเจ้าของชาวกรีกจะมีรูปร่างอย่างมนุษย์ และไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายเหมือนชาวอียิปต์ ดังนั้น จึงไม่มีสุสานหรือพิธีฝังศพที่ซับซ้อนวิจิตรเหมือนกับชาวอียิปต์ จิตรกรรมของกรีกที่รู้จักกันดีก็มีแต่ภาพวาดระบายสีตกแต่งผิวแจกันเท่านั้น ที่ชาวกรีกนิยมทำมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 1 เป็นภาพที่มีรูปร่างที่ถูกตัดทอนรูปจนใกล้เคียงกับรูปเรขาคณิต มีความเรียบง่ายและคมชัด สีที่ใช้ได้แก่ สีดิน คือเอาสีดำอมน้ำตาลผสมบาง ๆ ระบายสีเป็นภาพบนพื้นผิวแจกันที่เป็นดินสีน้ำาลอมแดง แต่บางทีก็มีสีขาว และสีอื่น ๆ ร่วมด้วย เทคนิคการใช้รูปร่างสีดำ ระบายพื้นหลังเป็นสีแดงนี้ เรียกว่า "จิตรกรรมแบบรูปตัวดำ" และทำกันเรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 1 มีรูปแบบใหม่ขึ้นมา คือ "จิตรกรรมแบบรูปดัวแดง" โดยใช้สีดำอมน้ำตาลเป็นพื้นหลังภาพ ตัวรูปเป็นสีส้มแดง หรือสีน้ำตาลไม้ ตามสีดินของพื้นแจกัน ประติมากรรมของกรีกส่วนมากเป็นเรื่องศาสนา ซึ่งสร้างถวายเทพเจ้าต่าง ๆ วัสดุที่นิยใช้สร้างงานได้แก่ ทองแดง และดินเผา ในสมัยต่อมานิยมสร้างจากสำริด และหินอ่อนเพิ่มขึ้น ในสมัยแรก ๆ รูปทรงยังมีลักษณะคล้ายรูปเรขาคณิตอยู่ ต่อมาในสมัยอาร์คาอิก (200 ปีก่อน พ.ศ.) เริ่มมีลักษณะคล้ายกับมนุษย์มากขึ้นเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า รูปนักกีฬา รูปวีรบุรุษ รูปสัตว์ต่าง ๆ ในยุคหลัง ๆ รูปทรงจะมีความเป็นมนุษย์มากขึ้น แสดงท่าทางการเคลื่อนไหวที่สง่างาม มีการขัดถูผิวหินให้เรียบดูคล้ายผิวมนุษย์ มีลีลาที่เป็นไปตามธรรมชาติมากขึ้น ทำให้ประติมากรรมกรีกจัดเป็นยุคคลาสสิค ที่ให้ความรู้สึกในความงามที่เป็นความจริงตามธรรมชาตินั่นเอง สถาปัตยกรรมกรีก ใช้ระบบโครงสร้างแบบเสาและคาน เช่นเดียวกับอียิปต์ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากฐานอาคารซึ่งยกเป็นชั้น ๆ ก็จะเป็นฝาผนังโดยปราศจากหน้าต่าง ซึ่งจะกั้นเป็นห้องต่าง ๆ 1 - 3 ห้อง ปกติสถาปนิกจะสร้างเสารายล้อมรอบอาคารหรือสนามด้วย มีการสลับช่วงเสากัน อย่างมีจังหวะระหว่างเสากับช่องว่างระหว่างเสา ทำให้พื้นภายนอกรอบ ๆ วิหารมีความสว่างและมีรูปทรงเปิดมากกว่าสถาปัตยกรรมอียิปต์ และมีขนาดเหมาะสม ไม่ใหญ่โตจนเกินไป มีรูปทรงเรียบง่าย สถาปัตยกรรมกรีกแบบพื้นฐาน 2 ใน 3 แบบ เกิดในสมัยอาร์คาอิก คือ แบบดอริก และแบบไอโอนิก ซึ่งแบบหลังพบแพร่หลายทั่วไปในแถบเอเชียไมเนอร์ เสาหล่านี้แต่ละต้นจะมีคานพาดหัวเสาถึงกันหมด ในสมัยต่อมา เกิดสถาปัตยกรรมอีแบบหนึ่งคือ แบบโครินเธียน หัวเสาจะมีลายรูปใบไม้ ชาวกรีกนิยมสร้างอาคารโดยใช้สถาปัตยกรรมทั้งสามชนิดนี้ผสมผสานกัน โดยมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการแกะสลักลวดลายประกอบ บางทีก็แกะสลักรูปคนประกอบไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้สีระบายตกแต่งโดยสีน้ำเงินได้รับความนิยมใช้ระบายฉาก หลังรูปลวดลายที่หน้าจั่ว และสีแดงใช้ระบายฉากหลังสำหรับประติมากรรมที่หัวเสาและลายคิ้วคาน
  
ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art
ศิลปะยุคโรมัน (Roman Art)
ศิลปะโรมัน (พ.ศ.340 - พ.ศ.870)

แบบอย่างศิลปะโรมันปรากฎลักษณะชัดเจน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4 เรื่อยมาจนกระทั่งประมาณ พ.ศ.1040 โดยในช่วงเวลาหลังได้เปลี่ยนสาระเรื่องราวใหม่ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาคริสต์ สืบต่อมาเป็นเวลาอีกนานมาก จนกระทั่งเมื่อกรุงคอนสะแตนติโนเปิลได้กลายเป็นเมืองหลวงใหม่ของจักรวรรดิ โรมัน ในปี พ.ศ.870 ทำให้สมัยแห่งโรมันต้องสิ้นสุดลง แหล่งอารยธรรมสำคัญของโรมัน คือ อารยธรรมกรีกและอีทรัสกัน
จิตรกรรมของโรมัน อาศัยจากการค้นคว้าข้อมูลจากเมืองปอมเปอี สตาบิเอ และ เฮอร์คิวเลนุม ซึ่งถูกถล่มทับด้วยลาวาจากภูเขาไฟวิสุเวียส เมื่อ พ.ศ. 622 และถูกขุดค้นพบในสมัยปัจจุบัน จิตรกรรมผาฝนังประกอบด้วยแผงรูปสี่เหลี่ยผืนผ้า ซึ่งมักเลียนแบบหินอ่อน เป็นภาพทิวทัศน์ ภาพคน และภาพเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม มีการใช้แสงเงา และกายวิภาคของมนุษย์ชัดเจน เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกับกาวน้ำปูน และสีขี้ฝึ้งร้อน นอกจากการวาดภาพ ยังมีภาพประดับด้วยเศษหินสี (Mosaic) ซึ่งใช้กันอย่างกว้างขวาง ทั้งบนพื้นและผนังอาคาร
ประติมากรรมของโรมันรับอิทธิพลมากจากชาวอีทรัสกันและกรีกยุคเฮเลนิสติกแสดง ถึงลักษณะที่ถูกต้องทางกายภาพ เป็นแบบอุดมคติที่เรียบง่าย แต่ดูเข้มแข็งมาก ประติมากรรมอีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่นิยมคือประติมากรรมรูปนูนเรื่องเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ มีรายละเอียดของเรื่องราว เหตุการณ์ถูกต้อง ชัดเจน ประติมากรรมโรมันในยุคหลัง ๆ เริ่มเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพิธีกรรมทางศาสนามากเป็นพิเศษวัสดุที่ใช้สร้าง ประติมากรรมของโรมันมักสร้างขึ้นจาก ขี้ผึ้ง ดินเผา หิน และสำริด
สถาปัตยกรรมโรมัน ได้แก่อาคารต่าง ๆ ส่วนมากเป็นรูปทรงพื้นฐาน วัสดุที่ใช้สร้างอาคารได้แก่ ไม้ อิฐ ดินเผา หิน ปูน และคอนกรีต ซึ่งชาวโรมันเป็นชาติแรกที่ใช้คอนกรีตอย่างกว้างขวาง และพัฒนารูปแบบออกจากระบบเสาและคาน ไปสู่ระบบโครงสร้างวงโค้ง หลังคาทรงโค้ง หลังคาทรงกลม และหลังคาทรงโค้ง กากบาท มีการนำสถาปัตยกรรมที่สำคัญของกรีกทั้ง 3 แบบ มาเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้วิจิตรบรรจงขึ้นชาวกรีกใช้เสาเป็นส่วนหนึ่งของ โครงสร้าง แต่ชาวโรมันมักจะเพิ่มการตกแต่งลงไป โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ทางโครงสร้างเท่าไรนัก ลำเสาของกรีกจะเป็นท่อน ๆ นำมาวางซ้อนต่อกันขึ้นไป แต่เสาของโรมันจะเป็นเสาหินท่อนเดียวตลอด รูปแบบอนุสาวรีย์ที่พบมากของโรมันคือ ประตูชัย เป็นสิ่งก่อสร้างตั้งอิสระประดับตกแต่งด้วยคำจารึก และรูปนูนบรรยายเหตุการณ์ ที่เป็นอนุสรณ์ สถาปัตยกรรมที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโรมัน คือสะพานส่งน้ำ ซึ่งใช้เป็นทางส่งน้ำจากภูเขา มาสู่เมืองต่าง ๆ ของชาวโรมันเป็นสิ่งก่อสร้างที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางวิศวกรรมของโรมัน อย่างเห็นได้ชัด
สถาปัตกรรมโรมัน ในช่วง พ.ศ. 600 - 873 ได้สะท้อนให้เห็นความมั่งคั่งและอำนาจของจักรวรรดิโรมัน อาคารสถาปัตยกรรมมีขนาดกว้างใหญ่ และมีการตกแต่งอย่างฟุ่มเฟือย มีการควบคุมทำเลที่ตั้ง การจัดภูมิทัศน์อย่างพิถีพิถัน มีการสร้างลานชุมนุมชาวเมือง โรงมหรสพหรือสนามกีฬา โรงอาบน้ำสาธารณะ และ อาคารที่พักอาศัยต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ภายในอาคารมักประดับด้วยหินอ่อน หินสี และประติมากรรมแกะสลักตกแต่งอย่างสวยงาม

ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art
ศิลปะยุคไบเซนไทน์ (Byzentine Art)
ศิลปะคริสเตียนยุคแรก (พ.ศ.640 - 1040) และศิลปะไบเซนไทน์ (พ.ศ.1040 - 1996)

ศิลปะคริสเตียนในยุคแรกรับอิทธิพลมาจาก ศิลปะโรมัน อาคารในสมัยแรกจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผู้ถูกฆ่าเรื่องศาสนา วิหารพิธีเจิมน้ำมนต์ ผนังภายนอกอาคารจะถูกปล่อยไว้เรียบ ๆ ทื่อ ๆ ผนังภายในอาคารจะประดับด้วยเศษหินสีแวววาว ส่วนต่างๆของอาคารเช่น เสารายแบบโรมัน เสาก่ออิฐ หลังคาทรงโค้ง แผนผังอาคารมี 2 แบบ คือ แบบชนิดตามยาว และแบบชนิดศูนย์กลาง ซึ่งมีรากฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมัน อาคารที่มีแนวยาวเหมาะสำหรับขบวนพิธีการที่สง่างาม อาคารชนิดมีศูนย์กลาง สำหรับเป็นสถูปสถานของนักบุญคนสำคัญ แต่ต่อมานิยมสร้างโบสถ์แบบมีศูนย์กลางกันมาก อาคารแบบมีศูนย์กลางอาจมีหลายรูปทรง เช่น ทำเป็นรูปทรงไม้กางเขนกรีก อยู่ภายในรูปจัตุรัส หรือไม่ก็รูปวงกลม โบสถ์ที่มีผังชนิดมีศูนย์กลางมักทำหลังคาทรงโค้ง หรือทรงกลมด้วยอิฐหรือหิน อาคารทรงเรือนโถงขนาดใหญ่มักทำเครื่องบนหลังคาด้วยไม้ท่อน
จิตรกรรมมีทำบนฝาผนังและแผงไม้ ตลอดจนทำเป็นภาพประกอบเรื่องในหนังสือ เขียนด้วยสีฝุ่น สีขี้ผึ้งร้อน และสีปูนเปียกอย่างแห้ง แสดงรูปคนกำลังสวดมนต์ และภาพปาฏิหารย์ตอนสำคัญของพระผู้เป็นเจ้าที่นำมาจากพระคัมภีร์เก่าและใหม่ หนังสือในสมัยแรก ๆ ทำมาจากหนังสัตว์และเป็นหนังสือม้วนภาพประกอบเรื่องในหนังสือแสดงให้เห็น ความเป็นธรรมชาติ โดยแก้ไขให้เป็นเชิงสัญลักษณ์มากกว่าจะเป็นธรรมชาติแท้ ๆ ลักษณะของภาพเป็นรูปแบน
และเป็นการใช้สีอย่างประหลาด ๆ
งานประติมากรรมในยุคคริสเตียนถูกลดความสำคัญ อันเนื่องมากจากบทบัญญัติในพระคัมภีร์ เกี่ยวกับรูปเคารพบูชา ประติมากรรมมักจำกัดอยู่กับงานขนาดเล็ก ๆ ได้แก่ งานแกะสลักรูปคนบนโลงศพ ถ้วยและจานโลหะ งานแกะสลักงาช้าง โกศบรรจุธาตุศักดิ์สิทธิ์
คำว่า "ไบเซนไทน์ " เรียกตามชื่อ จักรวรรดิไบเซนไทน์ ที่มีกรุงคอนสแตนติโนเปิล เป็นเมืองหลวง (ปัจจุบันคือกรุงอิสตันบูลเมืองหลวงของประเทศตุรกี) ลักษณะศิลปะไบเซนไทน์ มีลักษณะคาบเกี่ยวกับศิลปะคริสเตียนอยู่มาก และยังมีสืบเนื่องกันต่อมาเป็นเวลาอีกยาวนาน โดยมีลักษณะศิลปะแบบตะวันออกมาผสมผสานอยู่ด้วย

ศิลปะโรมาเนสก์ (พ.ศ.1540 - 1740)
สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์เป็นการก่ออิฐฉาบปูน มีหลังคาทรงโค้งกากบาทและมีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณ
2. มีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมัน
3. มีหอสูง 2 หอ หรือมากกว่านั้น
4. มีช่องเปิด ตาหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กัน
5. มีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคาร
6. มีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่

สำหรับงานศิลปกรรมอื่น ๆ ส่วนมากมักเป็นงานแกะสลักงาช้างขนาดเล็ก ๆ หรือไม่ก็เป็นงานที่เขียนบนหนังสือแบบวิจิตร เรื่องราวของงานศิลปะจะนำมาจากพระคัมภีร์ฉบับเก่าและใหม่ ตำนานโบราณ ชีวประวัตินักบุญ รูปเปรียบเทียบความดีกับความชั่ว หรือลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปดอกไม้ และรูปเราขาคณิต
ศิลปะโกธิค (พ.ศ. 1690 - 1940)
ศิลปะโกธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศส ปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมัลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมแบบโกธิค คือ มีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยมทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส เช่น มหาวิหารเซนต์เดอนิส มหาวิหารโนยง มหาวิหารลาออง มหาวิหารอาเมียง มหาวิหารปารีส เป็นต้น จิตรกรรมสมัยโกธิคมีพื้นที่เขียนภาพบนฝาผนังน้อยลง เพราะสถาปัตยกรรมมีช่องเปิดมาก ดังนั้นจึงมักเน้นไปที่การออกแบบกระจกสีบานหน้าต่าง สำหรับการเขียนภาพในหนังสือเขียน มักจะแสดงรูปคนที่สะโอดสะอง ในชุดเสื้อผ้าอาภรณ์ที่พลิ้ว และโค้งไหวอย่างอ่อนช้อย


 



ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art
ศิลปะเรอเนซองส์ (Renaissance Art)
ศิลปะเรอเนซองส์ (พ.ศ.1940 - 2140)
 
คำ ว่า "เรอเนซองส์" หมายถึง การเกิดใหม่ ซึ่งเป็นการระลึกถึงศิลปะกรีกและโรมันในอดีต ซึ่งเคยรุ่งเรืองให้กลับมาอีก ศิลปะเรอนเนซองส์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากอดีต แต่เป็นยุคสมัยแห่งการเน้นความสำคัญของลักษณะเฉพาะบุคคล มีความสนใจลักษณะภายนอกของมนุษย์ และธรรมชาติ เป็นแบบที่มีเหตุผลทางศีลธรรม ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการค้นหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการแขนง ต่าง ๆ ซึ่งอาจ เรียกได้ว่าเป็น "ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ" โดยมีรากฐานมาจากประเทศอิตาลี และแผ่ขยายไปยังดินแดนต่าง ๆ ในยุโรป
ใน สมัยเรอเนซองส์ วัดยังคงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่สำคัญของเหล่าศิลปินนอกจากนี้ยังมีพวกขุนนาง พ่อค้าผู้ร่ำรวย ซึ่งเป็นชนชั้นสูงก็ได้ว่าจ้างและอุปถัมภ์เหล่าศิลปินต่าง ๆ ด้วย ตระกูลที่มีชื่อเสียงเหล่านั้น ได้แก่ ตระกูลวิสคอนตี และสฟอร์ซา ในนครมิลาน ตระกูลกอนซากาในเมืองมานตูอา และตระกูลเมดิชีในนครฟลอเรนซ์ การอุปถัมภ์ศิลปินนี้มีผลในการกระตุ้นให้ศิลปินใฝ่หาชื่อเสียง และความสำเร็จมาสู่ชีวิตมากขึ้น ผลงานของศิลปินที่มีทั้ง จิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ทำให้ชื่อเสียงของศิลปินหลายคน เป็นที่รู้จักทั่วโลกตลอดกาล เช่น ลีโอนาร์โด ดา วินชี มิเกลันเจโล ราฟาเอล สถานภาพทางสังคมของศิลปินเป็นที่ยอมรับกันอย่างสูงในวงสังคม เกิดสำนักทางศิลปะเพื่อฝึกฝนช่างฝีมือ และเกิดมีศิลปินระดับอัฉริยะขึ้นมาอย่างมากมาย และในยุคเรอเนซองส์นี้เองที่มีการพัฒนาการพิมพ์ขึ้นในประเทศเยอรมนี ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ทำให้ศิลปะการพิมพ์ได้เริ่มมีการสร้างสรรค์ขึ้นอย่างจริงจัง นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา



ประวัติศาสตร์ศิลป์ History of art
ศิลปะสมัยใหม่ (New age Art )
  ศิลปะ สมัยใหม่ ตั้งแต่ กลาง พ.ศ.2300 เป็นต้นมาเป็นงานที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นแบบอย่างของแต่ละคน มากว่าที่จะเป็นแบบอย่างศิลปะแห่งแคว้น ซึ่งเป็น แบบที่มีความแตกต่างกันจนยากที่จะกล่าวอย่างผิวเผินได้ วัสดุและเทคนิคใหม่ ๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งผลผลิตของเครื่องจักรกล ได้สะท้อนไปสู่งานศิลปะทำให้รูปแบบของศิลปะมีความหลายหลายมากยิ่งขึ้น ใน ขณะเดียวกัน ความรู้ทางด้านจิตวิทยาและวิชาฟิสิกส์ได้จัดแจงรูปแบบความคิดของ ศิลปินที่มีต่อมนุษย์ และโลกทางกายภาพขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไม่สามารถที่จะอธิบายให้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ได้ แม้ว่าแนวโน้มศิลปะหลาย ๆ แบบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 25จะได้พยายามลดคุณค่าแบบอย่างศิลปะส่วนตนไป บ้าง แต่แนวโน้มที่แพร่หลายไปนี้ก็เน้นหนักที่ความคิดริเริ่มเป็นสำคัญ ลักษณะ สำคัญของงานศิลปะสมัยใหม่ จึงเป็นปฏิกิริยาที่ศิลปินแต่ละคนแสดงออกต่อโลก รอบตัว การค้นหาอาณาจักรความฝันเฟื่องของแต่ละคน การสร้างโลกทัศน์ใหม่ ของตัวเองจากวัสดุ และเทคนิควิธีการที่แปลกใหม่ ไปจากเดิม เหล่านี้เป็นลักษณะ สำคัญของงานจิตรกรรม ประติมากรรมแห่งพุทธศตวรรษที่ 25แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีความสนใจในศิลปะวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม และได้รับอิทธิพลจากศิลปะใน แบบดั้งเดิมอีกด้วย
     สรุป แล้ว งานศิลปะสมัยใหม่ เป็นรูปแบบเฉพาะของศิลปินแต่ละคน เน้นความ เป็นตัวของตัวเองของศิลปินแต่ละกลุ่มซึ่งมีมากมายหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีแนวคิด เทคนิค วิธีการที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย บ้างก็สะท้อนสภาพสังคม บ้างก็แสดงมุมมองบางอย่างที่แตกต่างออกไป บ้างก็แสดงภาวะทางจิตของศิลปิน และกลุ่มชน บ้างก็แสดงความประทับใจในความงามตามธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการนำเอาวัสดุอุปกรณ์แบบใหม่ ๆรวมถึงเครื่องจักรกลเข้ามาใช้ในการสร้าง สรรค์งานมากขึ้น การบริโภค หรือการสนับสนุนงานศิลปะ ไม่จำกัดอยู่ที่ชนชั้นสูง ขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยเท่านั้น แต่ยังตอบสนองต่อประชาชนทั่วไปอีกด้วย ไม่เพียงแต่ รูปแบบที่หลากหลายทางศิลปะเท่านั้นที่เกิดขึ้น รูปแบบศิลปะสมัยดั้งเดิมก็ยังได้รับ ความนิยม และสืบทอดต่อกันมาจนถึงสมัยปัจจุบันด้วย



















ขอบคุณ/อ้างอิง/ที่มา http://www.thaigoodview.com