บันไดเสียง (Scale) หมายถึง กลุ่มของระดับเสียงหรือโน้ตที่นำมาจัดเรียงกันเป็นลำดับขั้น
- ไล่เสียงขาขึ้น (Ascending) จากเสียงต่ำขึ้นไปเสียงสูง โดยไม่มีการข้ามขั้น และครอบคลุมโน้ตทั้งหมดในหนึ่งคู่แปด
- ไล่เสียงขาลง (Descending) จากเสียงสูงลงมาเสียงต่ำ โดยไม่มีการข้ามขั้น และครอบคลุมโน้ตทั้งหมดในหนึ่งคู่แปด
บันไดเสียง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บันไดเสียงไดอาโทนิค (Diatonic scale) ประกอบด้วยโน๊ต 8 ขั้น มีระยะห่างของเสียงทั้งเต็มเสียง และครึ่งเสียงคละกันไป มี 2 ชนิด คือ
1.1 บันไดเสียงเมเจอร์ (Major scale) ความห่างของโน้ตตัวที่ 1 กับโน้ตตัวที่ 3 ของบันไดเสียงเมเจอร์จะเป็นคู่ 3 เมเจอร์ ห่างกัน 4 ครึ่งเสียงหรือ 2 เสียงเต็ม (4 semitone or 2 tone)
1.2 บันไดเสียงไมเนอร์ (Minor scale) ความห่างของโน้ตตัวที่ 1 กับโน้ตตัวที่ 3 จะเป็นคู่ 3 ไมเนอร์ ห่างกัน 3 ครึ่งเสียง (3 semitone)
1.2.1 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัลหรือแบบเพียว (Natural or Pure minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัลนี้เป็นบันไดเสียงที่มาจากอีโอเลียนโมด (Aeolian mode) ซึ่งมีความห่างของขั้นบันไดเสียงเหมือนกัน ความห่างของขั้นบันไดเสียงระหว่าง 2 กับ 3 และระหว่าง 5 กับ 6 เป็นครึ่งเสียง ส่วนขั้นอื่น ๆ ห่างกัน 1 เสียง การไล่เสียงขาขึ้นและขาลงเหมือนกัน
1.2.2 บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิค (Harmonic minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิคเปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล โดยเพิ่มเสียงของโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงขึ้นอีกครึ่งเสียงทำให้ความห่างขั้น 7-8 ซึ่งเดิมเท่ากัน 1 เสียงลดลงมาเป็นความห่างครึ่งเสียง และความห่างระหว่างขั้น 6-7 ซึ่งเดิมห่างกัน 1 เสียงเพิ่มขึ้นเป็น 1 1/2 เสียง ส่วนขั้นอื่นคงเดิมเหมือนกันทั้งการไล่เสียงขาขึ้นและขาลง
1.2.3 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค (Melodic minoe scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค
เปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงในไมเนอร์แบบฮาร์โมนิค เนื่องจากในศตวรรษที่ 17 และ 18 ผู้ขับร้องดนตรีตะวันตกที่ใช้บันไดเสียงไมเนอร์แบบ ฮาร์โมนิคมีความลำบากในการขับร้องระหว่างขั้นคู่ที่ 6-7 ซึ่งมีความห่าง 1 1/2 เสียง จึงมีการเพิ่มความห่างขั้น 5-6 ให้เป็น 1 เสียง และลดความห่างขั้น 6-7 ให้เป็น 1 เสียง ส่วนขั้นอื่นคงเดิมในการไล่เสียงขาขึ้น ส่วนการไล่เสียงขาลงมีขั้นเสียงเหมือนกับบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล
1.2.4 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเรียลเมโลดิค (Real melodic minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์
แบบเรียลเมโลดิคเปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค โดยนำขั้นห่างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบโลดิคขาขึ้นมาใช้ ขั้นห่างของบันไดเสียงขั้นที่ 2 กับ 3 และขั้นที่ 7 กับ 8 จะห่างกันครึ่งเสียง ส่วนขั้นอื่นห่างกัน 1 เสียง การไล่เสียงขาขึ้นกับขาลงเหมือนกัน
2. บันไดเสียงโครมาติค (Chromatic scale) ประกอบด้วยโน๊ต 13 ขั้น แต่ละขั้นมีระยะห่างเป็นครึ่งเสียงตลอด มี 2 ชนิด คือ
2.1 บันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติค (Harmonic chromatic scale) เขียนโน้ตในบันไดเสียงเมเจอร์ เริ่มต้นที่ C และให้ทุกโน้ตซ้ำกัน 2 ตัว ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 1 กับโน้ตขั้นที่ 5 เสร็จแล้วใส่เครื่องหมายแปลงเสียงเพื่อสร้างระยะครึ่งเสียงระหว่างโน้ต โดยให้ติด # โน้ตขั้นที่ 4 และติด b โน้ตขั้นที่ 2, 3, 6 และ 7 ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 1 และโน้ตขั้นที่ 5 ส่วนขาลงเหมือนกับขาขึ้น
2.2 บันไดเสียงเมโลดิคโครมาติค (Melodic chromatic scale) เขียนโน้ตในบันไดเสียงเมเจอร์ เริ่มต้นที่ C และให้ทุกโน้ตซ้ำกัน 2 ตัว ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 3 กับโน้ตขั้นที่ 7 เสร็จแล้วใส่เครื่องหมายแปลงเสียงเพื่อสร้างระยะครึ่งเสียงระหว่างโน้ต โดยให้ติด # โน้ตตัวหลัง ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 3 และโน้ตขั้นที่ 7 ส่วนขาลงเหมือนกับบันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติค
บันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์ (Diatonic major scale) เรียกสั้น ๆ ว่า บันไดเสียงเมเจอร์ (Major scale)
บันไดเสียงเมเจอร์์
I II III IV V VI VII VIII
บันไดเสียง C = C D E F G A B C ฟังเสียง C Major Scale
บันไดเสียง C# = C# Eb F F# Ab Bb C C# ฟังเสียง C# Major Scale
บันไดเสียง D = D E F# G A B C# D ฟังเสียง D Major Scale
บันไดเสียง Eb = E F G Ab Bb C D Eb ฟังเสียง Eb Major Scale
บันไดเสียง E = E F# Ab A B7 C# Eb E ฟังเสียง E Major Scale
บันไดเสียง F = F G A Bb C D E F ฟังเสียง F Major Scale
บันไดเสียง F# = F# Ab Bb B C# Eb F F# ฟังเสียง F# Major Scale
บันไดเสียง G = G A B C D E F# G ฟังเสียง G Major Scale
บันไดเสียง Ab = Ab Bb C C# Eb F G Ab ฟังเสียง Ab Major Scale
บันไดเสียง A = A B C# D E F# Ab A ฟังเสียง A Major Scale
บันไดเสียง Bb = Bb C D Eb F G A Bb ฟังเสียง Bb Major Scale
บันไดเสียง B = B C# Eb E F# Ab Bb B ฟังเสียง B Major Scale
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
- ไล่เสียงขาขึ้น (Ascending) จากเสียงต่ำขึ้นไปเสียงสูง โดยไม่มีการข้ามขั้น และครอบคลุมโน้ตทั้งหมดในหนึ่งคู่แปด
- ไล่เสียงขาลง (Descending) จากเสียงสูงลงมาเสียงต่ำ โดยไม่มีการข้ามขั้น และครอบคลุมโน้ตทั้งหมดในหนึ่งคู่แปด
บันไดเสียง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. บันไดเสียงไดอาโทนิค (Diatonic scale) ประกอบด้วยโน๊ต 8 ขั้น มีระยะห่างของเสียงทั้งเต็มเสียง และครึ่งเสียงคละกันไป มี 2 ชนิด คือ
1.1 บันไดเสียงเมเจอร์ (Major scale) ความห่างของโน้ตตัวที่ 1 กับโน้ตตัวที่ 3 ของบันไดเสียงเมเจอร์จะเป็นคู่ 3 เมเจอร์ ห่างกัน 4 ครึ่งเสียงหรือ 2 เสียงเต็ม (4 semitone or 2 tone)
1.2 บันไดเสียงไมเนอร์ (Minor scale) ความห่างของโน้ตตัวที่ 1 กับโน้ตตัวที่ 3 จะเป็นคู่ 3 ไมเนอร์ ห่างกัน 3 ครึ่งเสียง (3 semitone)
1.2.1 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัลหรือแบบเพียว (Natural or Pure minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัลนี้เป็นบันไดเสียงที่มาจากอีโอเลียนโมด (Aeolian mode) ซึ่งมีความห่างของขั้นบันไดเสียงเหมือนกัน ความห่างของขั้นบันไดเสียงระหว่าง 2 กับ 3 และระหว่าง 5 กับ 6 เป็นครึ่งเสียง ส่วนขั้นอื่น ๆ ห่างกัน 1 เสียง การไล่เสียงขาขึ้นและขาลงเหมือนกัน
1.2.2 บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิค (Harmonic minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบฮาร์โมนิคเปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล โดยเพิ่มเสียงของโน้ตตัวที่ 7 ของบันไดเสียงขึ้นอีกครึ่งเสียงทำให้ความห่างขั้น 7-8 ซึ่งเดิมเท่ากัน 1 เสียงลดลงมาเป็นความห่างครึ่งเสียง และความห่างระหว่างขั้น 6-7 ซึ่งเดิมห่างกัน 1 เสียงเพิ่มขึ้นเป็น 1 1/2 เสียง ส่วนขั้นอื่นคงเดิมเหมือนกันทั้งการไล่เสียงขาขึ้นและขาลง
1.2.3 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค (Melodic minoe scale) บันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค
เปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงในไมเนอร์แบบฮาร์โมนิค เนื่องจากในศตวรรษที่ 17 และ 18 ผู้ขับร้องดนตรีตะวันตกที่ใช้บันไดเสียงไมเนอร์แบบ ฮาร์โมนิคมีความลำบากในการขับร้องระหว่างขั้นคู่ที่ 6-7 ซึ่งมีความห่าง 1 1/2 เสียง จึงมีการเพิ่มความห่างขั้น 5-6 ให้เป็น 1 เสียง และลดความห่างขั้น 6-7 ให้เป็น 1 เสียง ส่วนขั้นอื่นคงเดิมในการไล่เสียงขาขึ้น ส่วนการไล่เสียงขาลงมีขั้นเสียงเหมือนกับบันไดเสียงไมเนอร์แบบเนเจอรัล
1.2.4 บันไดเสียงไมเนอร์แบบเรียลเมโลดิค (Real melodic minor scale) บันไดเสียงไมเนอร์
แบบเรียลเมโลดิคเปลี่ยนแปลงมาจากบันไดเสียงไมเนอร์แบบเมโลดิค โดยนำขั้นห่างของบันไดเสียงไมเนอร์แบบโลดิคขาขึ้นมาใช้ ขั้นห่างของบันไดเสียงขั้นที่ 2 กับ 3 และขั้นที่ 7 กับ 8 จะห่างกันครึ่งเสียง ส่วนขั้นอื่นห่างกัน 1 เสียง การไล่เสียงขาขึ้นกับขาลงเหมือนกัน
2. บันไดเสียงโครมาติค (Chromatic scale) ประกอบด้วยโน๊ต 13 ขั้น แต่ละขั้นมีระยะห่างเป็นครึ่งเสียงตลอด มี 2 ชนิด คือ
2.1 บันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติค (Harmonic chromatic scale) เขียนโน้ตในบันไดเสียงเมเจอร์ เริ่มต้นที่ C และให้ทุกโน้ตซ้ำกัน 2 ตัว ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 1 กับโน้ตขั้นที่ 5 เสร็จแล้วใส่เครื่องหมายแปลงเสียงเพื่อสร้างระยะครึ่งเสียงระหว่างโน้ต โดยให้ติด # โน้ตขั้นที่ 4 และติด b โน้ตขั้นที่ 2, 3, 6 และ 7 ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 1 และโน้ตขั้นที่ 5 ส่วนขาลงเหมือนกับขาขึ้น
2.2 บันไดเสียงเมโลดิคโครมาติค (Melodic chromatic scale) เขียนโน้ตในบันไดเสียงเมเจอร์ เริ่มต้นที่ C และให้ทุกโน้ตซ้ำกัน 2 ตัว ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 3 กับโน้ตขั้นที่ 7 เสร็จแล้วใส่เครื่องหมายแปลงเสียงเพื่อสร้างระยะครึ่งเสียงระหว่างโน้ต โดยให้ติด # โน้ตตัวหลัง ยกเว้นโน้ตขั้นที่ 3 และโน้ตขั้นที่ 7 ส่วนขาลงเหมือนกับบันไดเสียงฮาร์โมนิคโครมาติค
บันไดเสียงไดอาโทนิคเมเจอร์ (Diatonic major scale) เรียกสั้น ๆ ว่า บันไดเสียงเมเจอร์ (Major scale)
บันไดเสียงเมเจอร์์
I II III IV V VI VII VIII
บันไดเสียง C = C D E F G A B C ฟังเสียง C Major Scale
บันไดเสียง C# = C# Eb F F# Ab Bb C C# ฟังเสียง C# Major Scale
บันไดเสียง D = D E F# G A B C# D ฟังเสียง D Major Scale
บันไดเสียง Eb = E F G Ab Bb C D Eb ฟังเสียง Eb Major Scale
บันไดเสียง E = E F# Ab A B7 C# Eb E ฟังเสียง E Major Scale
บันไดเสียง F = F G A Bb C D E F ฟังเสียง F Major Scale
บันไดเสียง F# = F# Ab Bb B C# Eb F F# ฟังเสียง F# Major Scale
บันไดเสียง G = G A B C D E F# G ฟังเสียง G Major Scale
บันไดเสียง Ab = Ab Bb C C# Eb F G Ab ฟังเสียง Ab Major Scale
บันไดเสียง A = A B C# D E F# Ab A ฟังเสียง A Major Scale
บันไดเสียง Bb = Bb C D Eb F G A Bb ฟังเสียง Bb Major Scale
บันไดเสียง B = B C# Eb E F# Ab Bb B ฟังเสียง B Major Scale
แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น